ขออภัยมีข้อจำกัดในการแสดงผล
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ประกาศกระทรวงการคลัง
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
คำสั่งกรมสรรพากร
ประกาศกรมสรรพากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
คำชี้แจงกรมสรรพากร
ข่าวการปรับปรุง
 
 
     
 

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีเงินได้(ฉบับที่ 73)

เรื่อง    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้าง จ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และ มาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร

---------------------------------------------

 

                โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะ เหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร

 

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวล รัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดลักษณะของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน และจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

 

                ข้อ 1  ให้ยกเลิกความใน (ข) ของข้อ 1 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

                          “(ข) เงินที่จ่ายจากกองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือ กองทุนตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ”

 

                ข้อ 2  ให้ยกเลิกความในข้อ 3 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษี เงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะหตุ ออกจากงานตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 

                “ข้อ 3  การเลือกเสียภาษีตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับ เงินได้ตามข้อ 1 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้

                            (1) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือกเสีย ภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากรได้ทั้งจำนวน

                            (2) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน นอกจากกรณีตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) ประเภทเดียวหรือหลายประเภท ก็ตาม โดยจ่ายให้พร้อมกันหรือทยอยจ่ายให้แต่อยู่ในปีภาษีเดียวกัน หากเงินได้พึงประเมินนี้ รวมกันแล้วไม่เกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงานให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าว มาเลือกเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ทั้งจำนวน

                                  ในกรณีเงินได้ตามวรรคหนึ่งมีจำนวนเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้นำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมาเลือกเสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงาน

                            (3) กรณีได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) และยังได้รับเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว เพราะเหตุออกจากงานประเภทอื่น ๆ ตาม (ง) อีก โดยจ่ายให้พร้อมกันหรือทยอยจ่ายให้ แต่อยู่ในปีภาษีเดียวกัน ให้นำเงินได้พึงประเมินนั้นมาเลือกเสียภาษีโดยหักค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์ ที่กำหนดในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร ได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกินเงินได้ตามข้อ 1(ก) และหรือ (ข) และหรือ (ค) และหรือ (ง) โดยหากเงินที่นายจ้างให้ครั้งเดียวเพราะเหตุ ออกจากงานตาม (ง) มีจำนวนเกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงานก็ให้นำเงินได้ ตาม (ง) มาคำนวณเพื่อหักค่าใช้จ่ายได้เพียงจำนวนเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงาน

                                  ในกรณีเงินได้ตาม (ง) มีจำนวนไม่เกินกว่าเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ ทำงาน ให้นำเงินได้พึงประเมินตาม (ง) มาคำนวณเพื่อหักค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน

                            (4) เงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงานตาม (2) และ (3) หมายความถึง จำนวนเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ ทำงาน ซึ่งเงินเดือนสำหรับระยะเวลาเต็มเดือนเดือนสุดท้ายนี้ จะต้องไม่เกินเงินเดือน ถัวเฉลี่ยของ 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานบวกด้วยร้อยละ 10 ของเงินเดือนถัวเฉลี่ยนั้น”

 

                ข้อ 4  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำ พ.ศ. 2540 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2541 เป็นต้นไป

 

ประกาศ ณ วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2541

 

บุญรอด โบว์เสรีวงศ์

รองอธิบดี รักษาราชการแทน

อธิบดีกรมสรรพากร

clear-gif

NAVIGATOR:  ประมวลรัษฎากร > ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร > เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 73