ขออภัยมีข้อจำกัดในการแสดงผล
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ประกาศกระทรวงการคลัง
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร
คำสั่งกรมสรรพากร
ประกาศกรมสรรพากร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
คำชี้แจงกรมสรรพากร
ข่าวการปรับปรุง
 
 
     
 

กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๒๗๓ (พ.ศ. ๒๕๕๓)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยภาษีเงินได้

-----------------------------------------

                      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๑ และมาตรา ๔ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๑๓ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

                      ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๗/๑) ของข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได

                      “(๑๗/๑) การจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๘) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการซื้อพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เฉพาะที่ยังมิได้เจียระไน แต่ไม่รวมถึงสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าวหรือที่ทำขึ้นใหม่ เพชร ไข่มุกและสิ่งทำเทียมเพชรหรือไข่มุกหรือที่ทำขึ้นใหม่ ให้แก่ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และมิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ๓๑๑) พ.ศ.๒๕๔๐ ร้อยละ ๑.๐ ทั้งนี้ สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินระหว่างวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔”

ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓

กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินบางประเภทเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ เนื่องจากการหักภาษี ณ ที่จ่าย จะเป็นการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีและทำให้รัฐสามารถควบคุมตรวจสอบการเสียภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลอันจะทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

                      (ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๒๙ ก วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๓)

clear-gif

NAVIGATOR:  ประมวลรัษฎากร > กฎกระทรวง > กฎกระทรวงฉบับที่ 273