จดทะเบียน ควบบริษัท ควบกิจการ
ราคาเริ่มต้นที่ 32,100 บาท เท่านั้น
# ค่าบริการขึ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องยื่นจดทะเบียน และพื้นที่ให้บริการ #
หากคุณต้องการ ควบบริษัท หรือ ควบกิจการ
โดยได้เอกสารครบถ้วน ถูกต้องตามกฎหมาย คุณมาถูกที่แล้ว
บริการของ THAI TAX LAW:
บริการของเจ้าอื่นในท้องตลาด:
ต้องการควบบริษัทจำกัด ?
อย่าช้า เรารอให้บริการคุณอยู่ คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
ขั้นตอน การควบบริษัทจำกัด
ค่าใช้จ่าย และระยะเวลาขึ้นกับสถานที่ตั้งสำนักงาน และหน่วยงานที่ต้องทำการยื่นเอกสารทั้งหมด
หน่วยงาน : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)
ยื่นเรื่องการควบรวมบริษัทจำกัด
ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษ ควบรวมบริษัทจำกัด
ก่อนจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ ต้องส่งคำบอกกล่าวแจ้งการนัดประชุมผู้ถือหุ้น ทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือ ส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุม ไม่น้อยกว่า 14 วัน และให้ระบุวาระการประชุม เรื่องจดทะเบียนควบบริษัท รวมทั้งอื่น ๆ ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน
การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าว ทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือ วันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น
จัดประชุมผู้ถือหุ้น เรื่อง ควบรวมบริษัทจำกัด
ในการลงมติให้ควบรวมกิจการ ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุม และมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยวาระในการประชุมผู้ถือหุ้น อาจมีหัวข้ออื่นอีกเพิ่มเติมในการประชุม นอกจากการควบรวมกิจการ ด้วยก็ได้
ยื่นคำขอจดทะเบียนมติพิเศษ ควบรวมบริษัทจำกัด
เมื่อมีมติพิเศษในที่ประชุมเรียบร้อยแล้ว กรรมการของบริษัท จัดทำคำขอจดทะเบียนควบกิจการ ภายใน 14 วัน นับแต่มีมติจากการประชุม และหากคุณประกอบธุรกิจประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัย ก็จำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานให้ความเห็นชอบ จากสำนักงานกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ประกาศหนังสือพิมพ์ และแจ้งเจ้าหนี้
หลังยื่นคำขอจดทะเบียนมติพิเศษแล้ว บริษัทต้องลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ขั้นต่ำ 1 ครั้ง รวมถึง ต้องแจ้งเรื่องการควบบริษัท ให้เจ้าหนี้ทราบผ่านการส่งหนังสือ โดยที่เจ้าหนี้สามารถยื่นเรื่องคัดค้านการขอควบกิจการได้ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้ง
ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อจัดตั้งบริษัทใหม่
ก่อนจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ ต้องส่งคำบอกกล่าวแจ้งการนัดประชุมผู้ถือหุ้น ทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือ ส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุม ไม่น้อยกว่า 14 วัน และให้ระบุวาระการประชุม เรื่องจดทะเบียนควบบริษัท รวมทั้งอื่น ๆ ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน
การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าว ทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือ วันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็นวันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น
จัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จะควบเข้ากัน
หากครบกำหนด 60 วันแล้วไม่ได้มีการคัดค้าน หรือ หากมีการคัดค้านจนได้บทสรุปแล้ว จึงค่อยจัดประชุมผู้ถือหุ้น ของบริษัทที่จะควบเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะตกลงรายละเอียดในการจัดตั้งบริษัทใหม่ เช่น ชื่อบริษัท ข้อบังคับ หรือ ทุนจดทะเบียน เป็นต้น
ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
หลังมีมติจากการประชุมเรียบร้อยแล้ว กรรมการของบริษัท จัดทำคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ภายใน 14 วัน นับแต่มีมติจากการประชุม
หน่วยงาน : กรมสรรพากร
ยื่นเรื่องการควบรวมบริษัทจำกัด
ยื่นแบบ ภ.พ.09 ควบรวมบริษัทจำกัด
หากคุณคือ ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม คุณจะต้องแจ้งการควบรวมกิจการ โดยการยื่นแบบ ภพ.09 ภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อแก้ไขข้อมูลทางทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้มีผลเป็นทางการถูกต้อง และไม่โดยค่าปรับทางภาษีเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ธุรกิจคุณอาจจำเป็นต้องยื่นแบบ ล.ป.10.3 กรณีที่คุณไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ดี
หน่วยงาน : สำนักงานประกันสังคม
ยื่นเรื่องการเลิกประกอบกิจการ และ ขึ้นทะเบียนนายจ้าง
ยื่นแบบ สปส. 6-15 แจ้งแก้ไข แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง
หากคุณขึ้นทะเบียนนายจ้าง กับสำนักงานประกันสังคม เมื่อคุณได้มีการควบรวมกิจการ และได้ทำการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเรียบร้อยแล้ว คุณมีหน้าที่จะต้องยื่นเรื่อง แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของนายจ้าง เพื่อแจ้งเลิกประกอบกิจการ กับเขตพื้นที่สำนักงานประกันสังคมที่ธุรกิจของคุณได้สังกัดอยู่ ภายในวันที่ 15 เดือนถัดไป หลังจากมีการเปลี่ยนแปลง
ยื่นแบบ สปส. 1-01 แจ้งขึ้นทะเบียน แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง
หลังจากแจ้งเลิกประกอบกิจการเก่าแล้ว คุณสามารถยังไม่ขึ้นทะเบียนนายจ้างได้ เว้นแต่ กรณีที่คุณมีลูกจ้าง หรือ พนักงานประจำคนแรกของกิจการแล้ว คุณจะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง และขึ้นทะเบียนลูกจ้างพร้อมการขึ้นทะเบียนนายจ้าง ภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีลูกจ้างเริ่มทำงาน โดยลูกจ้างจะต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปี โดยในการจ่ายเงินเดือน หรือ ค่าจ้างในแต่ละเดือน คุณจะต้องหัก เงินประกันสังคม พร้อม สมทบยอดเพื่อส่งเข้ากองทุนประกันสังคมอีกด้วย เพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้
หน่วยงานราชการอื่นๆ
ยื่นเรื่องขอใบอนุญาตใหม่
ยื่นเรื่องขอใบอนุญาตใหม่
หากธุรกิจของคุณมี ใบอนุญาตทางธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการ คุณจะต้องทำการขอใบอนุญาตใหม่ หากมีการควบรวมกิจการเกิดขึ้น เพราะถือว่าเป็นการก่อตั้งกิจการใหม่
รับคำปรึกษาทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย
จำนวนจำกัด รับสิทธ์ง่าย ๆ คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
ความเห็นจากลูกค้าของเรา
ข้อมูล REVIEW จริงจาก Google My BuSINESS
การให้บริการ เข้าใจง่าย ๆ เพียง 5 ขั้นตอน
ต้องการจดทะเบียนควบบริษัท ทำอย่างไร
Step 1 : ติดต่อทีมงานเพื่อประเมินค่าใช้จ่าย และรับคำแนะนำเบื้องต้น (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)
แอดไลน์ทีมงานมาที่ @THAITAXLAW ได้ทันที เพื่อให้ทีมงานจัดทำใบเสนอราคา และลิสต์รายการสิ่งที่ต้องทำให้ และเอกสารที่ต้องจัดเตรียมให้ทีมงาน
Step 2 : ชำระเงินเพื่อยืนยันการใช้บริการ และส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ส่งหลักฐานการชำระเงิน และส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทีมงานดำเนินการทันที
Step 3 : ทีมงานส่งลิงก์ เพื่อให้ยืนยันตัวตน ผ่านระบบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)
กรรมการบริษัท ผู้มีอำนาจลงนาม ยืนยันตัวตน โดยคลิกลิงก์ที่ทีมงานเตรียมให้
Step 4 : ทีมงานยื่นเรื่องการจดทะเบียนควบกิจการ
ทีมงานดำเนินการเรื่องเอกสาร และยื่นเรื่องกับหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม และ หน่วยราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
Step 5 : รับเอกสารการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดทางอีเมล และทางไปรษณีย์
ทีมงานจะจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้กับลูกค้าในรูปแบบ ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ และ/หรือ เอกสารทางไปรษณีย์ (ถ้ามี) โดยอาจมีเอกสารบางส่วน ถูกจัดส่งให้จากหน่วยงานราชการ
จดทะเบียนควบบริษัท เอกสารถูกต้อง
ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด ไม่ต้องกลัวโดนตรวจสอบ คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
เราคัดเอกสารราชการให้คุณครบ 100% ทั้งชุด
จดทะเบียนควบรวมกิจการ อย่าลืมเช็กให้ดี ก่อนเลือกใช้บริการ
หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
เอกสารที่รับรองความมีตัวตนของนิติบุคคล มักจะใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ปกติมักใช้ได้เมื่ออายุไม่เกิน 6 เดือน มิฉะนั้นจะต้องทำการคัดหนังสือรับรองฉบับใหม่อีกครั้ง
ใบทะเบียนพาณิชย์ (พค. 0401)
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท เป็นหลักฐานในการแสดงฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะได้รับ 1 ฉบับจาก DBD เท่านั้น ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทในอนาคต
แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท (บอจ.1)
เอกสารที่ใช้ยื่นคำขอในการจดทะเบียนนิติกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ จดจัดตั้งบริษัท และจดแก้ไขข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับบริษัทในอนาคต
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2)
เอกสารที่ผู้เริ่มก่อการของบริษัท ได้จัดทำขึ้น และได้ลงลายมือชื่อร่วมกันตามข้อกำหนดของกฎหมายในการจัดตั้งบริษัทจำกัด
รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3)
เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดทุนของบริษัทว่า ทุนจดทะเบียนเท่าไร มูลค่าหุ้น และการเรียกชำระทุนครั้งแรกของบริษัท
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
เอกสารที่แสดงว่า มีใครเป็นผู้ถือหุ้นอยู่บ้าง ณ ปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นในอนาคต จะต้องปรับปรุงทุกปี
ใบสำคัญชำระเงินค่าหุ้น
เอกสารที่แสดงว่าบริษัทได้รับเงินชำระค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นตกลงที่จะลงทุนในนิติบุคคลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รายชื่อผู้ก่อการ และผู้เข้าซื้อหุ้น
เอกสารแสดงรายชื่อผู้ก่อตั้งบริษัทโดยกฎหมายต้องมีไม่ต่ำกว่า 3 บุคคล ซึ่งอาจมีจำนวนเท่ากับ หรือ น้อยกว่าผู้ถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท
ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคล
เอกสารที่แสดงว่าได้มีการจองชื่อบริษัทนิติบุคคลสำเร็จ โดยมีสิทธิในการใช้ชื่อดังกล่าวในการจัดตั้งบริษัทภายในระยะเวลาที่กำหนด
รายละเอียดวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
เอกสารที่แสดงถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัท โดยปกติแล้ว บริษัทจะสามารถประกอบกิจการที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์เท่านั้น
รายการการประกอบธุรกิจ (สสช.1)
แบบแสดงรายการเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัท โดยปกติแล้วจะระบุหมวดหมู่ของธุรกิจที่บริษัทจะดำเนินการเป็นหลักไม่เกิน 2 ประเภท
รายชื่อกรรมการเข้าใหม่ (แบบ ก.)
เอกสารแสดงรายชื่อผู้ได้รับแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ซึ่งอาจเป็นผู้ถือหุ้นเอง หรือ บุคคลภายนอกก็ได้
คำรับรองการจดทะเบียนบริษัท
เอกสารยืนยันว่าได้มีการประชุมเพื่อจัดตั้งบริษัทตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท และตามระเบียบ สํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง โดยถูกต้องครบถ้วน
รายงานการประชุมตั้งบริษัท
หลักฐานการประชุมของผู้ถือหุ้น และข้อสรุปในการประชุมจัดตั้งบริษัท และการดำเนินการ ข้อบังคับ และการจัดตั้งกรรมการของบริษัท
ข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับบริษัทหรือข้อบังคับของบริษัทเป็นกฎเกณฑ์ ข้อกำหนด หรือระเบียบภายในของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดซึ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการสำคัญๆ ของบริษัทซึ่งตกลงกันโดยผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น
โฆษณาหนังสือพิมพ์ท้องที่
หลักฐานการประกาศโฆษณาการนัดหมายเรียกประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด
รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อมูลการประชุม และสรุปมติของการประชุมเกี่ยวกับ การควบรวมกิจการ
เอกสารแก้ไขข้อมูล กรมพัฒน์
แบบยื่นคำขอจดทะเบียน แก้ไขเพิ่มเติมของบริษัทจำกัด เช่น แบบ บอจ. แบบ ว. และ แบบ ก. เป็นต้น
เอกสารแก้ไขข้อมูล กรมสรรพากร
แบบ ภพ.09 กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แบบ ล.ป.10.3 กรณีไม่ได้เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
เอกสารแก้ไขข้อมูล ประกันสังคม
แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง ( สปส.6-15 ) เรื่องการยกเลิกกิจการเก่า และ แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01) เรื่อง เพิ่มกิจการใหม่
เอกสารแก้ไขข้อมูล ใบอนุญาตอื่นๆ
กรณีที่ธุรกิจของคุณมีใบอนุญาตทางธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และต้องการใช้บริการเพิ่มเติมในการแจ้งเปลี่ยนข้อมูล หรือขอใบอนุญาตใหม่
ใบกำกับภาษี/ใบเสร็จ ค่าบริการ
หลักฐานรายจ่ายในการใช้บริการ ควบรวมกิจการ ซึ่งสามารถใช้เป็นรายจ่ายทางธุรกิจได้
มีคำถามเพิ่มเติม ?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บางครั้งธุรกิจของคุณก็อาจจะมีการ Rebrand เปลี่ยนแปลงชื่อธุรกิจ หรือ มีการออกแบบโลโก้ประจำธุรกิจใหม่ เพื่อความทันสมัย หรือ ภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้นขององค์กร
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงชื่อของบริษัทจำกัด รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลง ตราสำคัญ หรือ ที่เรามักเรียกกันว่า ตราประทับ ของบริษัทจำกัดนั้น จำเป็นต้องมีการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงก่อนเสมอกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
หากคุณต้องการ เปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจำกัด และ/หรือ เปลี่ยนแปลง ตราสำคัญ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
บางครั้งวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่คุณจดไว้ตั้งแต่แรกเมื่อจัดตั้งบริษัทจำกัด อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่ม/ลด เพื่อความเหมาะสมกับสถาการณ์ของธุรกิจ ณ เวลา ปัจจุบัน และเพื่อเป็นหลักฐานว่า วัตถุประสงค์ของบริษัทจำกัดนั้นมีการเปลี่ยนไปแล้ว คุณจะต้องจดแจ้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยทันที
นอกจากวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว บางครั้งข้อบังคับบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้ตั้งแต่แรกอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้อำนาจกรรมการบริษัท ในการบริการจัดการที่มากขึ้น หรือ เป็นการปรับเปลี่ยนให้มีการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นตามความต้องการของมติในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นเช่นกัน
หากคุณต้องการ แก้ไขเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
เมื่อคุณต้องการย้ายที่อยู่สำนักงานจากที่ตั้งเดิม หรือ แม้แต่ มีการเพิ่ม/ลด สาขาของธุรกิจ คุณจะต้องจดทะเบียนแจ้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อเป็นหลักฐาน และเป็นการอัพเดทฐานข้อมูลเพื่อให้แสดงในเอกสารราชการว่าคุณมีที่ตั้งของธุรกิจคุณเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างแล้ว
หากคุณต้องการ แก้ไขเพิ่มเติม ที่ตั้งสำนักงาน ย้ายที่อยู่ เพิ่ม/ลด สาขา บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
ผู้มีอำนาจลงนาม ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล หรือ กลุ่มบุคคล ถือเป็นตัวแทนของบริษัทจำกัด ที่เรียกกันว่า กรรมการผู้จัดการนั้น ถูกแต่งตั้งโดยมติส่วนใหญ่ในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นทุกคน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป อำนาจในการบริหารจัดการในธุรกิจอาจมีความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นไปในลักษณะเปลี่ยนแปลง เพิ่ม/ลด บุคคลที่มีอำนาจ หรือ แม้แต่ การกำหนดสิทธิ์ เพิ่มอำนาจ/ลดอำนาจ ในการทำธุรกรรมนิติบุคคล ของผู้มีอำนาจ ให้ตรงกับความต้องการของ มติส่วนใหญ่ในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นทุกคน
ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้น นิติบุคคลนั้นจะต้องจดแจ้งกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้เป็นที่เรียบร้อยเพื่อให้ระบบฐานข้อมูลของราชการได้รับการอัพเดทให้ถูกต้องเช่นกัน
หากคุณต้องการ แก้ไขเพิ่มเติมกรรมการ และ/หรือ แก้ไขอำนาจกรรมการ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
ธุรกิจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากบริษัท เกิดการเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น หรือ ลดลงของ ผู้เป็นเจ้าของ หรือ ที่เรียกว่า ผู้ถือหุ้น เราจะต้องมีการจดแจ้งข้อมูลที่เปลี่ยนไปให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทันที
หากคุณต้องการ แก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
เมื่อธุรกิจเติบโต และต้องการเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายกิจการ ทางเลือกนอกเหนือไปจากการกู้ยืม ก็คือ การเพิ่มทุนของกิจการ ซึ่งก็คือ การเติมทุนจากหุ้นส่วนผู้ถือหุ้นรายเดิม หรือ แม้แต่การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นรายใหม่
การเพิ่มทุนจดทะเบียนของธุรกิจนิติบุคลนั้นมีระเบียบ และขั้นตอนการในการจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อคุณจดทะเบียนเพิ่มทุนสำเร็จแล้วนั้น คุณสามารถออกเป็นเอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล เพื่อแสดงว่าว่าทุนจดทะเบียนปัจจุบันมีจำนวนเท่าไร เพื่อใช้ในการทำนิติกรรมต่างๆ หรือ เพื่อแสดงความน่าเชื่อถือของกิจการต่อไปได้อีกด้วย
หากคุณต้องการ เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
เมื่อธุรกิจต้องการลดขนาดกิจการ หรือ มีทุนจดทะเบียนสูงเกินกว่าความต้องการ หรือ แม้แต่มีการถอนตัวของหุ้นส่วนบางคนออกไป ดังนั้นส่วนของทุนในธุรกิจจึงลดลง และเมื่อเกิดเหตุการณ์ลดทุนเกิดขึ้นในบริษัทจำกัด จะต้องมีการจดแจ้งข้อมูลดังกล่าวกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย
หากคุณต้องการ ลดทุนจดทะเบียน บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้ มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น (ราคาพาร์) ต้องมีจำนวนเท่ากันทุกหุ้น ดังนั้นหากจำนวนหุ้นที่มีทั้งหมดของบริษัทจำกัดมีจำนวนน้อยไป ทำให้ไม่สามารถแบ่งขายความเป็นเจ้าของได้ จึงอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ เพื่อเพิ่มจำนวนหุ้นที่มีทั้งหมดของบริษัท
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากมูลค่าเดิมมักเกิดขึ้นเมื่อมีความต้องการในการซื้อขายหุ้น ระดมทุน เพิ่มทุน เพื่อเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น และติดปัญหาในการแบ่งหุ้นกันได้ไม่ลงตัวตามสัดส่วนที่ต้องการ หรือ วางแผนเอาไว้อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ราคาที่ซื้อขายกันจริงของหุ้นของบริษัท ไม่จำเป็นจะต้องเท่ากับ มูลค่าหุ้นที่ตราไว้เสมอไป ซึ่งทำให้เกิดส่งที่เป็น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ส่วนต่ำมูลค่าหุ้น หรือ มูลค่าหุ้นตามราคาตลาด
หากคุณต้องการ แก้ไขเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
เมื่อบริษัทจำกัดตั้งแต่สองกิจการขึ้นไปต้องการควบรวมกิจการเป็นกิจการเดียวกัน จะต้องทำการจดทะเบียนควบรวมกิจการ เพื่อทำการปรับปรุงข้อมูลทางบัญชี ภาษี และผลทางนิติกรรมให้เป็นหนึ่งเดียวกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหน่วยงานราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
หากคุณต้องการ จดทะเบียนควบกิจการ บริษัท คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
ในกรณีที่คุณมีความต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องบริษัทจำกัด เช่น การเปลี่ยนชื่อสกุลของผู้มีอำนาจ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ที่ไว้ติดต่อกับหน่วยงานราชการ หรือ ข้อมูลอื่นใดที่ไม่เป็นสาระสำคัญทางนิติกรรม แต่ได้ทำการลงข้อมูลไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และคุณต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานระบบให้ถูกต้อง คุณก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการแจ้งข้อมูลดังกล่าวกับนายทะเบียนเช่นกัน
หากคุณต้องการ แก้ไขข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย