รับจดภาษีมูลค่าเพิ่ม จด VAT ภพ 20
จด VAT ด่วน 1 วัน ราคา 3,210 บาท
[ ออกใบกำกับภาษีได้ทันที ]
# ราคานี้เฉพาะการจดภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบออนไลน์เท่านั้น #
หากคุณต้องการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ถูกต้องตามกฎหมาย พร้อมให้คำแนะนำ คุณมาถูกที่แล้วล่ะ
บริการของ THAI TAX LAW:
บริการของเจ้าอื่นในท้องตลาด:
พร้อมให้คำปรึกษา ฟรี !
จำนวนจำกัด รับสิทธ์ง่าย ๆ คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
การให้บริการ เข้าใจง่าย ๆ เพียง 7 ขั้นตอน
ต้องการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำอย่างไร
Step 1 : ติดต่อทีมงานเพื่อแจ้งการใช้บริการ และรับคำแนะนำเบื้องต้นทันที
แอดไลน์ทีมงานมาที่ @THAITAXLAW พร้อมแจ้ง เลขผู้เสียภาษี 13 หลักที่ต้องการจด VAT ได้เลย
Step 2 : เลือกแพคเกจการจด VAT ที่เหมาะสมกับคุณ
# กรณียื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มแบบออนไลน์ #
ราคา 3,210 บาท [ จดได้ทั่วประเทศ ]
# กรณียื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มแบบกระดาษ #
ราคา 6,420 บาท [ พื้นที่กทม ] / ราคา 9,630 บาท [ พื้นที่ตจว ]
Step 3 : ชำระเงินเพื่อยืนยันการใช้บริการ และเตรียมเอกสารให้กับทีมงาน
กรอกแบบฟอร์ม และเตรียมเอกสารสำหรับ จัดส่งให้ทีมงานตรวจสอบความเรียบร้อย
Step 4 : ทีมงานยื่นเรื่องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ทีมงานยื่นเรื่องเข้าในระบบภายใน 1 วันทำการ (กรณีออนไลน์) หรือ ทำการยื่นจด ณ พื้นที่สรรพากรของที่ตั้งธุรกิจท่าน (กรณียื่นแบบกระดาษ)
Step 5 : รับเอกสาร ภพ.01 เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นคำขอจด VAT เแล้ว
ทีมงานทำการจดส่ง เอกสาร ภพ.01 ให้กับทางลูกค้าเพื่อเป็นหลักฐาน ซึ่งถือว่าการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว และสามารถออกใบกำกับภาษี และมีหน้าที่ส่งภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนทันที
Step 6 : รอรับการเข้าตรวจที่ตั้งธุรกิจจากเจ้าหน้าที่สรรพากร (ถ้ามี - สุ่มตรวจ)
กรณีเจ้าหน้าที่สรรพากรเข้าตรวจกิจการ ลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบในการให้ความร่วมมือ พร้อมชี้แจง และส่งมอบเอกสารทางธุรกิจของกิจการ ให้กับทางสรรพากรถ้าถูกร้องขอ (ทีมงานช่วยให้คำแนะนำได้ แต่ไม่ใช่หน้าที่ความรับผิดชอบในการเข้ารับตรวจสอบกิจการกับทางสรรพากร)
Step 7 : รอรับเอกสาร ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ภายใน 1-2 เดือน
หากกิจการของลูกค้ามีที่ตั้งอยู่จริง และพิสูจน์การดำเนินธุรกิจจริง (ไม่ว่าจะโดนสุ่มตรวจสอบ หรือ ไม่โดนตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่สรรพากรก็ตาม) โดยปกติแล้วจะได้รับ ภ.พ. 20 ภายใน 1-2 เดือน
# แต่หากภายหลัง ลูกค้าโดนเพิกถอน การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากไม่มีที่ตั้ง หรือ ไม่มีการดำเนินธุรกิจจริง ท่านอาจจะโดนค่าปรับ และจะต้องทำการยื่นจดทะเบียนใหม่แต่ต้น (ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายใหม่ทั้งหมด)
ความเห็นจากลูกค้าของเรา
ข้อมูล REVIEW จริงจาก Google My BuSINESS
ต้องการใช้บริการทันที ?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
เรื่องที่คุณต้องรู้เมื่ออยากจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
108 สารพัดเรื่องควรรู้ ต้องรู้ เมื่อจะจด VAT ให้สำเร็จ และไม่มีปัญหา
ความรู้พื้นฐาน และหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องรู้
บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร : หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรา 80_82
ใครต้องจด VAT บ้าง รายได้เท่าไรถึงเกณฑ์บังคับ ?
นิติบุคคล และบุคคลธรรมดาที่มีรายได้นอกเหนือจากงานประจำ [รายได้ 40(2) - 40(8)] เมื่อไหร่ก็ตามที่มีรายได้มากกว่า(เกิน) 1.8 ล้าน ต่อปี ต้องขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการจด VAT ซึ่งมีหน้าที่ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
ถ้าไม่ทำตามในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษและค่าปรับ แต่บางประเภทธุรกิจได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ ดารานักแสดง บริการขนส่ง เป็นต้น
ธุรกิจที่ได้รับยกเว้น VAT อยากจะขอจด VAT ได้ไหม ?
ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มีสิทธิ์ขอจดทะเบียน ได้แก่
1.ผู้ประกอบการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ตามมาตรา 81 (1) ดังต่อไปนี้ การขายพืชผลทางการเกษตร การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต การขายปุ๋ย การขายปลาป่น อาหารสัตว์ การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
หมายเหตุ : สินค้าแปรรูปเชิงอุตสาหกรรม มีการปรุงรส ใส่บรรจุภัณฑ์ ไม่ได้รับยกเว้น เช่น เงาะกระป๋อง
2.ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย และมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
หมายเหตุ : ที่มาของคำว่า เมื่อรายได้เกิน 1.8 ล้าน บังคับจด VAT แต่ถ้ายอดไม่ถึง อยากจดก็จดได้
## เฉพาะข้อนี้ จริงๆ ควรจด VAT ตั้งแต่คาดการณ์ว่ารายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปีแน่ๆ เพราะจดได้ง่ายกว่ารอยอดเกิน 1.8 ล้านแล้ว ##
3.การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
4.การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5.การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
[ สรุป คือ ไม่ควรหาเรื่องไปจด ถ้าไม่จำเป็น ]
ธุรกิจบางประเภท อยากจดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่มีสิทธิ์เด็ดขาด
ผู้ประกอบการขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ตามมาตรา 81 (1) ดังต่อไปนี้
1. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ
2. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา
3. การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
4. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล
5. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ
6. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
7. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
8. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
9. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร
11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล
12. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
13. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น
14. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
15. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
16. การขายสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
อยากอ่านเองเพิ่มเติม : https://www.rd.go.th/5206.html
หากคุณไม่มั่นใจว่า ธุรกิจของคุณต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มไหม ปรึกษาทีมงาน Thai Tax Law ได้เลยง่ายๆ เช่นกัน
หลักฐานที่ตั้งสถานประกอบการ (ถ้าไม่มี ไม่เข้าเกณฑ์ ไม่ถูกต้อง จดไม่ได้)
จำนวนสถานที่ตั้งกิจการ
หากผู้ประกอบการมีสถานที่ทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นที่ขาย ที่เก็บสินค้า หรือ ออฟฟิศที่ทำงาน มากกว่า 1 สถานที่ที่กำลังครอบครองใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นของตัวเอง หรือ เป็นการเช่าก็ตาม จะต้องนำที่ตั้งที่สถานที่เข้ามาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ซึ่งจะต้องจดเป็น สำนักงานใหญ่ 1 แห่ง ส่วนที่เหลือเป็นสาขา แต่หากมีที่ทำการแค่ที่เดียว ก็จดเป็น สำนักงานใหญ่เท่านั้นเลยพอ
ความพร้อมของสถานที่
หากสถานที่พร้อมใช้งานในการทำธุรกิจแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากยังไม่สามารถใช้งานได้จริง อาจจะต้องแสดงหลักฐานเพิ่มเติมในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น สำเนาสัญญาตกแต่ง ก่อสร้าง หรือ แบบแปลน การขอใช้น้ำไฟ เป็นต้น (แล้วแต่เจ้าหน้าที่จะร้องขอเพื่อการตรวจสอบ)
รูปแบบสถานที่ตั้งของกิจการ
จะต้องสามารถระบุลักษณะที่แน่ชัดของสถานที่ประกอบได้ว่า เป็น บ้านพักอาศัย อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน อาคารโรงงาน หรือ อาคารชุดคอนโด
คำเตือน !!! : อาคารชุดคอนโดใช้จด VAT ไม่ได้ ยกเว้นอยู่ในพื้นที่พาณิชย์ตามกฎหมาย และนิติบุคคลยินยอม (ปกติอยู่ชั้นที่ 1 เท่านั้น)
เจ้าของกรรมสิทธิ์สถานที่ตั้ง และ สิทธิ์การใช้สถานที่ของผู้ประกอบการ
สถานที่ที่นำไปจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้นั้นต้องมีหลักฐานที่น่าเชื่อซึ่งแสดงสิทธิ์ในการใช้สถานที่นั้นเพียงพอ เช่น สัญญาเช่าไม่ต่ำกว่า 12 เดือน หรือ หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยหากเป็นการให้เช่าช่วง ก็ต้องแสดงหลักฐานสิทธิ์ในการได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่ในทุกช่วงจนถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์ตัวจริง
การเช่าระยะสั้น หาบแร่ แผงลอย พื้นที่ชั่วคราว หรือ การเช่าปากเปล่า การเช่าสถานที่ซึ่งไม่สามารถแสดงหลักฐานจนถึงเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ จะไม่สามารถนำสถานที่นั้นมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
เรื่องที่ทำให้โดนปฏิเสธ การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม มากที่สุด คือ ขาดหลักฐาน สถานที่ประกอบกิจการ ที่ยอมรับได้
เอกสารหลักฐานการประกอบกิจการ
ความพร้อมในการประกอบธุรกิจ
หากเป็นธุรกิจที่เริ่มมียอดขายแล้ว ไม่ว่าจะน้อยแค่ไหน หรือ ยังไม่ถึง 1.8 ล้าน ก็สามารถจด VAT และไม่ค่อยประเด็นปัญหามากนัก โดยปกติแล้วอาจจะโดนร้องขอให้แสดงตัวอย่าง ใบเสนอราคา ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน ที่เคยออกให้ลูกค้า และ/หรือ ได้รับจากคู่ค้าคู่ขายที่ได้มีธุรกรรมกับธุรกิจของเรา แต่สำหรับธุรกิจที่ยังไม่ได้เริ่มมียอดขายเลย แต่อยากจะจด VAT ก่อน เพราะเหตุผลใดใดก็ตาม ปกติแล้วมักจะต้องมีการทำแผนธุรกิจอย่างย่อประกอบเป็นหลักฐานในการขอยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อแสดงถึงแผนงานที่ต้องการจะทำธุรกิจจริง
ประเภทธุรกิจหลัก รายได้หลักของกิจการ
การยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น จะต้องมีการแจ้งประเภทของธุรกิจหลัก ซึ่งหมายความว่า ประเภทธุรกิจที่เชื่อว่าจะสร้างรายได้มากที่สุดให้กับกิจการ โดยสามารถแจ้งได้สูงสุด 5 ประเภทด้วยกัน ถึงแม้ว่าเราอาจจะมีสินค้า หรือ บริการที่แตกต่างกันมากมายหลายประเภท แต่ก็ให้เลือกประเภทที่ทำให้เกิดรายได้สูงสุดเรียงลำดับมากไม่เกิน 5 ประเภท ซึ่งขั้นต่ำที่ต้องแจ้งก็คือ 1 ประเภทเท่านั้น โดยหากในอนาคตมีประเภทสินค้า หรือ บริการหลักที่เปลี่ยนไป นอกเหนือไปจากที่เขียนยื่นขอจดเอาไว้ ก็ต้องมาการมายื่นคำขอแก้ไขเพิ่มเติมด้วยแบบ ภพ.09 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจเป็นนัยยะสำคัญทันที
สรรพากรอาจจะร้องขอ เอกสารที่แสดงถึงกับทำธุรกิจ หรือ แผนธุรกิจอย่างย่อ (ทีมงานมีแบบฟอร์มแนะนำให้)
มีข้อสงสัย อยากสอบถามเพิ่ม ?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
เอกสารที่คุณควรรู้เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
จด VAT ทั้งที อย่าลืมทำความเข้าใจไว้เบื้องต้น จะได้ไม่พลาด ไม่โดนค่าปรับ
แบบ ภ.พ.01
คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้ในการยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจะต้องเก็บรักษาเอกสารไว้จนกว่าจะมีการยื่นขอออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
แบบ ภ.พ.01.1
คำขอแจ้งขอใช้สิทธิเพื่อขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร เป็นเอกสารที่ใช้ประกอบารขอยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับธุรกิจที่ได้รับยกเว้น หรือ ธุรกิจที่ยังมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้าน/ปี
แบบ ภ.พ.20
ผู้ประกอบการเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนตามกฎหมายตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) เป็นต้นไป ต้องแสดงไว้ในที่เห็นได้ง่ายและเปิดเผย ณ สถานประกอบการ
แบบ ภ.พ.09
คำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร ซึ่งใช้ในการขอยื่นจดแก้ไขข้อมูลทางภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ ประเภทกิจการ เพิ่มลดสาขา หรือ แม้แต่แจ้งเลิกกิจการ
แบบ ภ.พ. 30
แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร เพื่อแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย โดยต้องนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
แบบ ภ.พ. 36
แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร ใช้เมื่อได้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ให้แก่ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ฯ และกรณีอื่นตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
ใบกำกับภาษี
ใบกำกับภาษีเป็นเอกสารที่ผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ผู้ขายที่จด VAT) ต้องออกให้ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ (ผู้ซื้อ) เพื่อแสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการ โดยไม่เกี่ยวว่าผู้ซื้อต้องการ VAT หรือไม่ก็ตามและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ผู้ขายก็ใช้เป็นหลักฐานทำภาษีขาย โดยฝั่งผู้ซื้อใช้เอกสารนี้ไปใช้เป็นภาษีซื้อ หรือไม่ก็ได้
รายงานภาษีขาย
รายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีขาย แสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบกิจการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษีจากการขายสินค้าหรือให้บริการ โดยรายงานภาษีขายต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
รายงานภาษีซื้อ
รายงานที่กิจการจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายละเอียดรายการภาษีซื้อ แสดงมูลค่าสินค้าหรือบริการและภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่น โดยรายงานภาษีซื้อต้องมีรายการและข้อความตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการ เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และเป็นธุรกิจประเภทที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี และถ้าไม่ทำตามในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษและค่าปรับดังนี้
1. ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
2. ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นจำนวน 7% ของยอดขายสินค้าและบริการที่เกิน 1.8 ล้าน จนกว่า
คุณจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำเร็จ เช่น ถ้าคุณมียอดขาย 2.2 ล้าน ส่วนเกิน 1.8 ล้าน คือ 4 แสนบาท
คุณจะต้องเป็นผู้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวน 28,000 บาท
3. ชำระเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเรียกเก็บ หรืออย่างน้อย 1,000 บาท ต่อเดือนภาษี
ขึ้นกับว่าจำนวนเงินไหนมากกว่ากัน
4. ชำระเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน(หรือเศษของเดือน) ของภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ
คำถามที่พบบ่อย
กรณีที่รายได้ของกิจการยังไม่ถึง 1.8 ล้านต่อปี ก็สามารถยื่นขอจด VAT ได้ โดยจะต้องยื่นพร้อมแบบภพ.01.1 ด้วย และสรรพากรอาจขอเอกสารหลักฐานในการทำธุรกิจเพิ่มเติม เช่น ใบเสร็จ ใบแจ้งหนี้ หรือ แม้แต่ แผนธุรกิจอย่างย่อ ของธุรกิจที่ทำอยู่ก็เป็นได้
ที่อยู่ที่มีลักษณะเป็น ห้องของอาคารชุดคอนโด ไม่สามารถนำมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ยกเว้นแต่ว่า ห้องชุดนั้นได้จดทะเบียนเป็นพื้นที่เพื่อพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด และนิติบุคคลของอาคารชุดนั้นได้ออกหนังสือยินยอมให้ทำการค้าได้ (ปกติอยู่ชั้นที่ 1 เท่านั้น)
สำเนาโฉนด ทะเบียนบ้าน เป็นหลักฐานสำคัญในการแสดงถึงว่าเจ้าของสถานที่ตัวจริงเป็นผู้อนุญาตให้ธุรกิจเราเข้าใช้สถานที่นั้นๆในการทำธุรกิจ หากไม่ได้เอกสารดังกล่าวมาประกอบในการยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วนั้น ก็จะไม่สามารถจด VAT ได้แน่นอน ดังนั้นแนะนำให้หาสถานที่อื่นๆ ที่เหมาะสมกว่าแทน
ธุรกิจจะต้องมีที่ตั้งเป็นหลักแหล่งที่สามารถติดต่อได้ โดยสามารถใช้บ้านของตัวเอง หรือ เช่าออฟฟิศขนาดเล็ก เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการจดทะเบียน และรับเอกสารเท่านั้นก็สามารถได้เช่นกัน
ที่อยู่บ้านของตัวเองสามารถนำมาจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แต่ว่าถ้ามีการปล่อยเช่าให้คนอื่นอยู่ หรือ มีการนำไปใช้ทำธุรกิจอื่นอยู่ด้วยก็จะมีความซับซ้อนลำบากเพิ่มเติมขึ้นมา
เพราะต้องสามารถแสดงสัดส่วนพื้นที่ชัดเจนที่นำมาใช้ในธุรกิจที่เราต้องการจด VAT ได้อยากชัดเจน เช่น ใช้บริเวณชั้น 2 ห้องที่ 1 เท่านั้นในการทำธุรกิจนี้ โดยส่วนอื่นๆไม่เกี่ยวข้องเลย
แต่ถ้าไม่สามารถแสดงสัดส่วนที่ถูกต้องชัดเจนได้ ก็อาจโดนเพิกถอน หรือ ทำให้พื้นที่ส่วนอื่นโดนประเมินภาษีเพิ่มเติมอีกต่อ
ไม่มีสัญญาเช่า ก็ใช้หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่แทนได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ตัวจริงเท่านั้น แต่ถ้าไม่มีเอกสารอะไรเลย ก็ไม่สามารถใช้สถานที่นั้นยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ส่วนกรณีที่มีการเช่าช่วงไม่ตรงกับเจ้าของกรรมสิทธิ์ตัวจริง ก็ต้องมีเอกสารประกอบว่าทำไมผู้ปล่อยเช่าให้เรามีสิทธิ์นำมาปล่อยเช่าให้เรา มิฉะนั้น สรรพากรก็จะถือว่าเราใช้สถานที่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของตัวจริง และจะไม่อนุมัติการจด VAT ให้ธุรกิจ
ต้องยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่ถ้าเกินแล้วก็ให้รีบไปยื่นคำขอพร้อมเสียค่าปรับเล็กน้อย และทำการส่งภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลัง
เมื่อเราจด VAT ผ่านเรียบร้อยแล้วต้อง ทำใบกำกับภาษีขายสินค้าและให้บริการ / ทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย / ทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ / ยื่น ภ.พ. 30 และยื่นแบบทางภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากคุณทำเป็นเองทั้งหมด จะไม่จ้างบัญชีทำให้ก็ได้เช่นกัน
1. หากผู้ประกอบการต้องการ เลิก/ปิด กิจการ สามารถแจ้งยกเลิก VAT ได้โดยยื่นแบบ ภ.พ.09 ซึ่งต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับจากวันที่เลิกประกอบกิจการ
2.หากยังประกอบกิจการอยู่ และรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาท สามารถออกจากระบบ VAT ได้ โดยยื่นแบบ ภ.พ.08 หากเป็นไปตามเงื่อนไขคือ
- มีรายได้ตลอดทั้งปีไม่ถึง 1.8 ล้านบาทติดต่อกัน 3 ปี ถึงจะมีสิทธิขอให้อธิบดีสั่งถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
- กิจการที่ได้รับยกเว้น VAT แต่ผู้ประกอบการเลือกที่จะขอจด VAT โดยได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี และมีมูลค่าของฐานภาษีต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
ผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วนั้น ต้องมีการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปในราคาขายเสมอ (บังคับต้องทำ ไม่มี Option) และออกใบกำกับภาษีเสมอ โดยไม่ขึ้นกับว่าลูกค้าอยากจะให้บวก VAT หรือ ต้องการใบกำกับภาษีหรือไม่ก็ตาม
หากว่ามีการลดราคาเสมือนว่าไม่ได้บวก VAT ทางสรรพากรจะมองว่าเงินที่ได้รับสุทธิจากการขายครั้งนั้นได้มีการบวก VAT เข้าไปเรียบร้อยแล้ว และผู้ขายยังคงมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีขายอยู่ดี
ดังนั้นผู้ขายจะต้องวางกลยุทธ์ในการนำเสนอราคาขาย และวางแผนต้นทุนให้ดี มิฉะนั้นได้เข้าเนื้อ ลดราคา จนถึงขาดทุนเพราะลืมคำนวณเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง
การที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น นอกจากมีหน้าที่ในการบวกภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายแล้ว ยังได้รับสิทธิ์ในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ดังนั้นจึงต้องดูแหล่งที่มาของต้นทุนสินค้า/บริการดีๆ
หากมีธุรกิจอื่นที่สามารถทำได้ถูกต้อง แต่เราไม่สามารถทำได้ แสดงว่าเรามีสถานะทางธุรกิจที่ขาดความได้เปรียบแฝงอยู่มาโดยตลอดไม่รู้ตัว ซึ่งทำให้ไม่สามารถขยายธุรกิจเพิ่มได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ดังนั้นถ้าไม่สามารถหาต้นทุนที่ต่ำลง เพิ่มราคาขายได้ แปลว่าทำยังไงก็ขาดทุน ก็ควรหาตลาดอื่นในการทำจะดีกว่า เพราะระยะยาวก็จะแพ้ทั้งทางธุรกิจ และโดยค่าปรับทางภาษีซ้ำเติมอีกเปล่าๆ
หากได้ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ่งเกี่ยวกับระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะพบว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) มีจุดประสงค์ในการเรียกเก็บจากผู้บริโภคคนสุดท้าย ซึ่งหมายถึงผู้ที่ไม่ได้อยู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ไม่ได้จด VAT นั่นเอง
การที่ธุรกิจเราได้จด VAT ไปแล้วนั่นแปลว่า จริงๆ แล้ว เราคือตัวแทนสรรพกร ในการช่วยเก็บส่งภาษี VAT เพราะว่าเวลาขาย เราก็บวก VAT เพิ่มจากราคาสินค้า เพื่อเก็บจากลูกค้าเรา นอกจากนี้ เวลาเราซื้อของที่มี VAT เราก็มีสิทธิ์ขอคืน VAT จากสรรพากรเช่นกัน
ดังนั้น VAT จึงไม่เคยเป็นค่าใช้จ่ายทางธุรกิจที่อยู่ในระบบ VAT เลยแม้แต่น้อย ยกเว้นแต่ว่าการขายสินค้าของเรานั่นกลับไม่ยอมบวก VAT กับลูกค้า และเป็นคนรับภาระ VAT เอาไว้เองมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นเรื่องของการไม่คำนวณเรื่องต้นทุน และราคาขายที่เหมาะสม ม่ได้เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางภาษีเลยแม้แต่น้อย
สนใจบริการอื่นเพิ่มเติม?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
บริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บางครั้งธุรกิจของคุณก็อาจจะมีการ Rebrand เปลี่ยนแปลงชื่อธุรกิจ หรือ มีการออกแบบโลโก้ประจำธุรกิจใหม่ เพื่อความทันสมัย หรือ ภาพลักษณ์ที่ดียิ่งขึ้นขององค์กร
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงชื่อของบริษัทจำกัด รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลง ตราสำคัญ หรือ ที่เรามักเรียกกันว่า ตราประทับ ของบริษัทจำกัดนั้น จำเป็นต้องมีการจดทะเบียนแจ้งการเปลี่ยนแปลงก่อนเสมอกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
หากคุณต้องการ เปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทจำกัด และ/หรือ เปลี่ยนแปลง ตราสำคัญ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
บางครั้งวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่คุณจดไว้ตั้งแต่แรกเมื่อจัดตั้งบริษัทจำกัด อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่ม/ลด เพื่อความเหมาะสมกับสถาการณ์ของธุรกิจ ณ เวลา ปัจจุบัน และเพื่อเป็นหลักฐานว่า วัตถุประสงค์ของบริษัทจำกัดนั้นมีการเปลี่ยนไปแล้ว คุณจะต้องจดแจ้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยทันที
นอกจากวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว บางครั้งข้อบังคับบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้ตั้งแต่แรกอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้อำนาจกรรมการบริษัท ในการบริการจัดการที่มากขึ้น หรือ เป็นการปรับเปลี่ยนให้มีการควบคุมที่เข้มงวดขึ้นตามความต้องการของมติในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นเช่นกัน
หากคุณต้องการ แก้ไขเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
เมื่อคุณต้องการย้ายที่อยู่สำนักงานจากที่ตั้งเดิม หรือ แม้แต่ มีการเพิ่ม/ลด สาขาของธุรกิจ คุณจะต้องจดทะเบียนแจ้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อเป็นหลักฐาน และเป็นการอัพเดทฐานข้อมูลเพื่อให้แสดงในเอกสารราชการว่าคุณมีที่ตั้งของธุรกิจคุณเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างแล้ว
หากคุณต้องการ แก้ไขเพิ่มเติม ที่ตั้งสำนักงาน ย้ายที่อยู่ เพิ่ม/ลด สาขา บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
ผู้มีอำนาจลงนาม ซึ่งอาจจะเป็นบุคคล หรือ กลุ่มบุคคล ถือเป็นตัวแทนของบริษัทจำกัด ที่เรียกกันว่า กรรมการผู้จัดการนั้น ถูกแต่งตั้งโดยมติส่วนใหญ่ในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นทุกคน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป อำนาจในการบริหารจัดการในธุรกิจอาจมีความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นไปในลักษณะเปลี่ยนแปลง เพิ่ม/ลด บุคคลที่มีอำนาจ หรือ แม้แต่ การกำหนดสิทธิ์ เพิ่มอำนาจ/ลดอำนาจ ในการทำธุรกรรมนิติบุคคล ของผู้มีอำนาจ ให้ตรงกับความต้องการของ มติส่วนใหญ่ในที่ประชุมของผู้ถือหุ้นทุกคน
ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้น นิติบุคคลนั้นจะต้องจดแจ้งกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้เป็นที่เรียบร้อยเพื่อให้ระบบฐานข้อมูลของราชการได้รับการอัพเดทให้ถูกต้องเช่นกัน
หากคุณต้องการ แก้ไขเพิ่มเติมกรรมการ และ/หรือ แก้ไขอำนาจกรรมการ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
ธุรกิจอาจมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากบริษัท เกิดการเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น หรือ ลดลงของ ผู้เป็นเจ้าของ หรือ ที่เรียกว่า ผู้ถือหุ้น เราจะต้องมีการจดแจ้งข้อมูลที่เปลี่ยนไปให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทันที
หากคุณต้องการ แก้ไขเพิ่มเติมรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
เมื่อธุรกิจเติบโต และต้องการเงินทุนเพิ่มเติมเพื่อขยายกิจการ ทางเลือกนอกเหนือไปจากการกู้ยืม ก็คือ การเพิ่มทุนของกิจการ ซึ่งก็คือ การเติมทุนจากหุ้นส่วนผู้ถือหุ้นรายเดิม หรือ แม้แต่การระดมทุนจากผู้ถือหุ้นรายใหม่
การเพิ่มทุนจดทะเบียนของธุรกิจนิติบุคลนั้นมีระเบียบ และขั้นตอนการในการจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมาย และเมื่อคุณจดทะเบียนเพิ่มทุนสำเร็จแล้วนั้น คุณสามารถออกเป็นเอกสารหนังสือรับรองนิติบุคคล เพื่อแสดงว่าว่าทุนจดทะเบียนปัจจุบันมีจำนวนเท่าไร เพื่อใช้ในการทำนิติกรรมต่างๆ หรือ เพื่อแสดงความน่าเชื่อถือของกิจการต่อไปได้อีกด้วย
หากคุณต้องการ เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
เมื่อธุรกิจต้องการลดขนาดกิจการ หรือ มีทุนจดทะเบียนสูงเกินกว่าความต้องการ หรือ แม้แต่มีการถอนตัวของหุ้นส่วนบางคนออกไป ดังนั้นส่วนของทุนในธุรกิจจึงลดลง และเมื่อเกิดเหตุการณ์ลดทุนเกิดขึ้นในบริษัทจำกัด จะต้องมีการจดแจ้งข้อมูลดังกล่าวกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย
หากคุณต้องการ ลดทุนจดทะเบียน บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้ มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น (ราคาพาร์) ต้องมีจำนวนเท่ากันทุกหุ้น ดังนั้นหากจำนวนหุ้นที่มีทั้งหมดของบริษัทจำกัดมีจำนวนน้อยไป ทำให้ไม่สามารถแบ่งขายความเป็นเจ้าของได้ จึงอาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ เพื่อเพิ่มจำนวนหุ้นที่มีทั้งหมดของบริษัท
การเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากมูลค่าเดิมมักเกิดขึ้นเมื่อมีความต้องการในการซื้อขายหุ้น ระดมทุน เพิ่มทุน เพื่อเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น และติดปัญหาในการแบ่งหุ้นกันได้ไม่ลงตัวตามสัดส่วนที่ต้องการ หรือ วางแผนเอาไว้อย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ราคาที่ซื้อขายกันจริงของหุ้นของบริษัท ไม่จำเป็นจะต้องเท่ากับ มูลค่าหุ้นที่ตราไว้เสมอไป ซึ่งทำให้เกิดส่งที่เป็น ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ส่วนต่ำมูลค่าหุ้น หรือ มูลค่าหุ้นตามราคาตลาด
หากคุณต้องการ แก้ไขเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
เมื่อบริษัทจำกัดตั้งแต่สองกิจการขึ้นไปต้องการควบรวมกิจการเป็นกิจการเดียวกัน จะต้องทำการจดทะเบียนควบรวมกิจการ เพื่อทำการปรับปรุงข้อมูลทางบัญชี ภาษี และผลทางนิติกรรมให้เป็นหนึ่งเดียวกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหน่วยงานราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
หากคุณต้องการ จดทะเบียนควบกิจการ บริษัท คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย
ในกรณีที่คุณมีความต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องบริษัทจำกัด เช่น การเปลี่ยนชื่อสกุลของผู้มีอำนาจ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ที่ไว้ติดต่อกับหน่วยงานราชการ หรือ ข้อมูลอื่นใดที่ไม่เป็นสาระสำคัญทางนิติกรรม แต่ได้ทำการลงข้อมูลไว้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และคุณต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานระบบให้ถูกต้อง คุณก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการแจ้งข้อมูลดังกล่าวกับนายทะเบียนเช่นกัน
หากคุณต้องการ แก้ไขข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ บริษัทจำกัด คุณสามารถติดต่อเราเพื่อขอรับบริการดังกล่าวได้ง่ายๆ เพียงคลิกที่ปุ่มด้านล่างนี้เลย