รับจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด และชำระบัญชี
ให้คำแนะนำ จดปิดหจก เบื้องต้น และประเมินค่าใช้จ่ายฟรี !
# การจดทะเบียนปิดกิจการมีความเฉพาะตัวของแต่ละกิจการ หากพบ ราคาเดียวรวมหมดทุกอย่าง ควรระวัง อาจได้เอกสารงานไม่ครบถ้วน #
หากคุณต้องการจดทะเบียน เลิกกิจการ ปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องกลัวภาษีย้อนหลัง คุณมาถูกที่แล้ว !
บริการของ THAI TAX LAW:
บริการของเจ้าอื่นในท้องตลาด:
สงวนสิทธิ์โปรโมชั่น 10 เคส / ต่อเดือน
ไม่เข้าเงื่อนไขโปรโมชั่น ติดต่อทีมงานประเมินค่าใช้จ่าย ฟรี !
แอดไลน์ : @CROSS-CHECK
ภาพรวมการจดทะเบียนปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด
ธุรกิจสถานะ "ดำเนินการ"
ธุรกิจยังสามารถดำเนินการทำธุรกรรม นิติกรรมต่างๆ ทางด้านกฎหมายได้ตามปกติ ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะมีรายได้รายจ่าย หรือไม่ก็ตาม
ธุรกิจสามารถขอ "หนังสือรับรองนิติบุคล" เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า ธุรกิจยังอยู่ในสถานะ "ดำเนินการ" ได้
ธุรกิจสถานะ "เลิก"
ธุรกิจได้จดทะเบียน "เลิกกิจการ" กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเมื่อธุรกิจมีสถานะ "เลิก" มักจะไม่สามารถทำธุรกรรมต่างๆได้อีก
ธุรกิจจะได้รับ "หนังสือรับรองการเลิกกิจการ" เพื่อใช้หลักฐานยืนยันให้แก่หน่วยงานราชการ/เอกชน อื่นๆ ต่อไป
ธุรกิจสถานะ "เสร็จการชำระบัญชี"
ธุรกิจที่ได้จดทะเบียน "เลิกกิจการ" และได้จัดการประเด็นค้างคาทางบัญชีแล้ว เช่น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ กำไรสะสม สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ หนี้สินต่างๆ และ ผ่านการตรวจสอบ และได้รับการอนุมัติในการปิดกิจการจากกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งจะได้รับ "หนังสือรับรองการเลิกกิจการ และเสร็จการชำระบัญชี" ไว้เป็นหลักฐาน
มีปัญหาซับซ้อน ? ปรึกษาฟรี !
ทีมงานพร้อมช่วยเหลือให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพ !
แอดไลน์ : @CROSS-CHECK
ระยะเวลาในการดำเนินการ ปิดหจก ชำระบัญชี
ไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการจดทะเบียนปิดกิจการ หากเอกสารครบ วางแผนล่วงหน้า ก็สามารถทำได้เร็ว
ช่วงระยะเวลาที่ 1 :
เตรียมจดทะเบียนเลิกกิจการ
# ลงประกาศหนังสือพิมพ์ครั้งที่ 1 ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วันก่อนวันประชุม เพื่อมีมติ จดเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
นัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวและ ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้น ไม่น้อยกว่า 14 วัน [ประกาศให้ผู้ถือหุ้นมาประชุมเพื่อมีมติพิเศษเลิกกิจการ]
เมื่อจัดประชุมผู้ถือหุ้น และหากมีมติไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน ก็สามารถยื่นจดทะเบียน "เลิกกิจการ" ได้โดยทันที (ภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีมติให้ "เลิกกิจการ" จะต้องประกาศ นสพ. 1 ครั้ง และ ส่งหนังสือบอกกล่าวเจ้าหนี้ทุกราย)
เมื่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอนุมัติคำขอในการ "จดทะเบียนเลิกกิจการ" คุณจะได้รับ "หนังสือรับรองการเลิกกิจการ" เพื่อยืนยันสถานะทางธุรกิจของคุณว่าตอนนี้มีสถานะ "เลิก" เรียบร้อยแล้ว
ถ้าคุณต้องการ จดเลิกหจก ได้รวดเร็ว ถูกต้อง ว่องไว ประหยัดค่าใช้จ่าย
คุณควรจะเริ่มดำเนินการจัดการประเด็นต่างๆต่อไปนี้ให้เรียบร้อยเสียก่อน "จดทะเบียนเลิกกิจการ" เพราะว่าธุรกิจคุณตอนนี้ยังอยู่ในสถานะ "ดำเนินการ" อยู่ ซึ่งง่ายต่อการทำธุรกรรมต่างๆมากกว่า
1. ประเด็นทางด้านบัญชี เช่น ลูกหนี้ เจ้าหนี้ กำไรสะสม สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์ หนี้สินต่างๆ รวมถึงการวางแผนภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์สูงสุดของเจ้าของกิจการเอง
2. ประเด็นทางด้านสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายอื่นๆ เช่น การยกเลิกใช้สิทธิประโยชน์ของ BOI หรือ การยกเลิกการขึ้นทะเบียนกับทางสคบ. หรือ การถ่ายโอนเปลี่ยนเจ้าของสิทธิบัตร และใบอนุญาตทางธุรกิจต่างๆที่มีความเกี่ยวข้อง (บางอย่างอาจทำได้หลังจากจดทะเบียนเลิกกิจการแล้วเท่านั้น)
3. ประเด็นทางภาษี เช่น ภาษีค้างจ่าย ณ ปัจจุบัน ความพร้อมของเอกสารสำหรับการตรวจสอบย้อนหลังจากสรรพากรไม่ต่ำกว่า 2 ปีบัญชี การจัดเตรียมข้อกำหนด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษีต่างๆ
หากเตรียมตัวมาพร้อมจะใช้เวลาเพียง 14 วัน ในขั้นตอนนี้ แต่ถ้าไม่ก็ควรวางแผน และจัดการให้แล้วเสร็จก่อน เพราะว่า ถ้ารีบจดสถานะเลิก เร็วเกินไป อาจะทำให้ ช่วงระยะเวลาที่ 2 : ระหว่างการชำระบัญชี นานขึ้นมากๆ
ช่วงระยะเวลาที่ 2 :
ระหว่างการชำระบัญชี
ช่วงที่ 1 : แจ้งบุคคลภายนอก
# ลงประกาศหนังสือพิมพ์ครั้งที่ 2 ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
[ประกาศให้บุคคลทั่วไปทราบว่า ธุรกิจได้ทำการ "จดทะเบียนเลิกกิจการ" แล้ว]
2. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
3. แจ้งเลิกกิจการกับกรมสรรพากร (ภพ.09 หรือ ล.ป.10.3) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
ช่วงที่ 2 : ประชุมสรุปภายในเพื่อมีมติพิเศษ เลิกกิจการ
4. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกหจก ( ณ วันที่ประชุมมีมติพิเศษให้เลิกหรือวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก)
5. ส่งงบการเงิน ณ วันเลิกหจก ให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองว่าถูกต้อง
# ลงประกาศหนังสือพิมพ์ครั้งที่ 3 ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
6. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อ อนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก
7. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีหรือแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่ และอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก
ช่วงที่ 3 : ชำระรายการทางบัญชี (ควรทำให้แล้วเสร็จส่วนใหญ่ ก่อนจดเลิกกิจการ)
8. ผู้ชำระบัญชีสะสางทรัพย์สิน และหนี้สินของกิจการ (ถ้ามีทรัพย์สินก็ให้จำหน่าย มีลูกหนี้ให้เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ชำระหนี้สิน และจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีของหจก)
9. เมื่อมีเงินคงเหลือก็ให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้น หรือ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
ช่วงที่ 4 : รอสรรพากรอนุมัติ การปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ เสร็จสิ้นการตรวจสอบจากสรรพากร
10. เข้าชี้แจ้งข้อมูลกิจการเพิ่มเติม เมื่อมีการเรียกตรวจสอบจากสรรพากรพื้นที่ (ถ้ามี)
11. รอได้รับเอกสารยืนยันอนุมัติการปิดห้างหุ้นส่วนจำกัดจากกรมสรรพากร
ช่วงที่ 5 : ระยะเวลารอคอย และภาระหน้าที่เพิ่มเติม
12. ระหว่างรอเอกสารอนุมัติจากสรรพากร กิจการยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบทางภาษีทุกเดือน (ถ้ามี)
13. หากไม่สามารถชำระบัญชีให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน นับจากวันเลิก ต้องยื่นรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช.3) ทุก 3 เดือน
14. ถ้าชำระบัญชียังไม่แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี ต้องเรียกประชุมใหญ่ในเวลาสิ้นปีทุกปีนับแต่วันที่เริ่มทำการชำระบัญชี (วันเลิก) และต้องทำรายงานยื่นที่ประชุมว่าได้จัดการไปอย่างไรบ้าง และแจ้งให้ทราบความเป็นไปของการชำระบัญชีโดยละเอียด
ช่วงที่ 6 : ยื่นเรื่อง ปิดห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี
# ลงประกาศหนังสือพิมพ์ครั้งที่ 4 ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม
15. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
16. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
17. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี และยื่นจดทะเบียน ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติการชำระบัญชี
18. รับเอกสาร "หนังสือรับรองการเลิกกิจการ และชำระบัญชี" เพื่อเป็นหลักฐานในการปิดกิจการโดยสมบูรณ์
ช่วงระยะเวลาที่ 2 : ระหว่างการชำระบัญชี เป็นช่วงระยะเวลาที่ไม่สามารถกำหนดความนานได้ เนื่องจากมีปัจจัยภายนอก คือ ระยะเวลาที่ทางสรรพากรจะทำการออกหนังสืออนุมัติให้ (ช่วงที่ 4)
แต่ว่าหากเราเตรียมความพร้อมมาตั้งแต่ก่อน "จดทะเบียนเลิกกิจการ" ก็จะทำให้ไม่เสียเวลาเพิ่มขึ้นจากการโดยตรวจสอบทางภาษีย้อนหลังจำนวนมากนัก
อย่างไรก็ตามระยะเวลาเฉลี่ยในการได้รับเอกสารจากสรรพากรนั้นมีตั้งแต่ 2 เดือน - 2 ปี ขึ้นกับความซับซ้อนทางธุรกิจ และประเด็นทางภาษีที่ยังค้างคาอยู่ ณ เวลาเลิกกิจการ
ช่วงระยะเวลาที่ 3 :
หลังปิดกิจการเรียบร้อย
คุณได้ทำการปิดกิจการสำเร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม คุณยังมีหน้าที่เก็บรักษาสมุดบัญชี และเอกสารของกิจการทั้งหมดตามมาตรา 1271 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นระยะเวลา 10 ปี พร้อมให้นายทะเบียนตรวจสอบได้ทุกเมื่อ
เรื่องที่คุณควรรู้ : แม้ปิดกิจการไปแล้ว คุณยังสามารถโดนฟ้องร้องดำเนินคดีในฐานะลูกหนี้ได้ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 อย่างไรก็ตาม "การจดทะเบียนเลิกกิจการ และชำระบัญชี" ของธุรกิจคุณจะต้องถูกดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ต้นเท่านั้น
กลัวโดนย้อนหลัง อยากให้ปัญหาจบ
ปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @CROSS-CHECK
ความเห็นจากลูกค้าของเรา
ข้อมูล REVIEW จริงจาก Google My BuSINESS
การให้บริการ เข้าใจง่าย ๆ เพียง 5 ขั้นตอน
ต้องการ จดเลิกหจก แจ้งยกเลิกกิจการ ทำอย่างไร
Step 1 : ติดต่อทีมงานเพื่อประเมินค่าใช้จ่าย และรับคำแนะนำเบื้องต้น (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)
แอดไลน์ทีมงานมาที่ @CROSS-CHECK ตอบแบบสอบถาม ส่งงบการเงินปีล่าสุด ได้ทันทีเพื่อให้ทีมงานจัดทำใบเสนอราคา และลิสต์รายการสิ่งที่ต้องทำให้ และเอกสารที่ต้องจัดเตรียมให้ทีมงาน
Step 2 : ชำระเงินเพื่อยืนยันการใช้บริการจดทะเบียนเลิกกิจการ และชำระบัญชี
ส่งหลักฐานการชำระเงิน และส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้องในการจดเลิกกิจการ และชำระบัญชี
Step 3 : ทีมงานร่วมวางแผนภาษีที่เกี่ยวข้อง และธุรกรรมต่างๆกับทางลูกค้า
ทีมงานวางแผนการดำเนินการก่อนทำการจดเลิกกิจการ เพื่อให้ทำขั้นตอนในการชำระบัญชีทำได้โดยง่าย และรวดเร็วที่สุด รวมไปถึงวางแผนภาษีเพื่อประโยชน์สูงสุดของเจ้าของกิจการ
Step 4 : ทีมงานยื่นเรื่องการแจ้งเลิกกิจการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ทีมงานยื่นเรื่องเลิกกิจการ คอยติดตามความคืบหน้า และแจ้งให้ลูกค้าทราบสถานะการดำเนินการตลอดเวลา ทั้งนี้ระยะเวลาในการทำการทั้งหมดอาจอยู๋ระหว่าง 2 เดือน - 2 ปี แล้วแต่กิจการ
Step 5 : รับเอกสารการจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดทั้งหมดทางอีเมล และทางไปรษณีย์
เมื่อเสร็จขั้นตอนในแต่ละช่วงเวลาของการจดทะเบียนเลิกกิจการ และชำระบัญชี ทีมงานจะทำการแจ้งอัพเดท และส่งหลักฐานให้ตลอดระยะเวลาจนแล้วเสร็จการชำระบัญชีของกิจการ
ต้องการจ้างปิดห้างหุ้นส่วน ชำระบัญชี
ไม่มีค่าใช้จ่ายใดใด คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @CROSS-CHECK
เราคัดเอกสารราชการให้คุณครบ 100% ทั้งชุด
จดเลิกกิจการ และชำระบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด ดูให้ดี ก่อนเลือกใช้บริการ
หนังสือรับรองเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด
เอกสารที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าธุรกิจของคุณอยู่ในสถานะ "เลิกกิจการแล้ว" ซึ่งจะต้องใช้เป็นหลักฐานในการแจ้งหน่วยงานราชการอื่นๆ ต่อไป
หนังสือรับรองเสร็จการชำระบัญชี
เอกสารที่เป็นหลักฐานยืนยันว่าธุรกิจของคุณอยู่ในสถานะ "เสร็จการชำระบัญชี" แล้ว ซึ่งแสดงว่าคุณได้ทำการปิดกิจการเสร็จสมบูรณ์
แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
เอกสารที่ใช้ในการแจ้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าว่าต้องการจดทะเบียนเลิกกิจการ และชำระบัญชี โดยเมื่อนายทะเบียนรับเรื่องก็จะถือว่าคำขอนั้นสำเร็จ ณ วันนั้น
รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2)
เอกสารที่แจ้งรายละเอียดของผู้ชำระบัญชี ซึ่งมีอำนาจ และเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเลิกกิจการ และชำระบัญชีทั้งหมด
สำเนารายงานการประชุมหุ้นส่วน
กรณีผู้ชำระบัญชี ไม่ใช่ บุคคล/กลุ่มบุคคลซึ่งมีอำนาจเดิมของกิจการ จะต้องมีแต่งตั้ง ผู้ชำระบัญชีจากการประชุมหุ้นส่วน รวมถึงสถานที่ตั้งผู้ชำระบัญชีด้วย
รายงานการชําระบัญชี (แบบ ลช.3)
เมื่อมีการชำระบัญชีรายการต่างๆแล้วจะต้องมีการแจ้งรายละเอียดให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทราบด้วย และต้องทำทุก 3 เดือนจนกว่าจะเสร็จการชำระบัญชี
รายการจดทะเบียนเสร็จการชําระบัญชี (แบบ ลช.5)
เอกสารที่ใช้ในการแจ้งเรื่องให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทราบว่ากิจการได้ทำการชำระบัญชีทั้งหมดเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รายละเอียดสมุดบัญชี และเอกสารทั้งหลาย (แบบ ลช.6)
รายการแนบเพื่อระบุว่ามีเอกสารของกิจการที่ต้องทำการจัดเก็บโดยผู้ชำระบัญชี พร้อมให้ตรวจสอบหากมีการร้องขอเป็นระยะเวลา 10 ปี
ประกาศหนังสือพิมพ์ในแต่ละครั้งตามกฎหมายกำหนด
ประกาศหนังสือพิมพ์เพื่อเชิญประชุมหุ้นส่วนในแต่ละครั้ง และการลงประกาศเพื่อแจ้งสถานะทางธุรกิจตามข้อกำหนดทางกฎหมาย
คำถามที่พบบ่อย
ทางทฤษฎีแล้วอาจจะทำได้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตามทางปฏิบัติจริง กิจการต้องรอการอนุมัติจากสรรพากรอีก ดังนั้นโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน - 2 ปี ในการตรวจสอบของสรรพากร แล้วแต่ความซับซ้อนของธุรกิจ
หากไม่ได้โดยศาลสั่งให้มีสถานะล้มละลาย หรือ โดนกรมพัฒนาธุรกิจการค้าขีดฆ่าชื่อเนื่องจากมีสถานะร้าง การจะปิดห้างหุ้นส่วนจำกัดให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้น จะต้องมีการจดทะเบียนเลิก และชำระบัญชีให้เรียบร้อย
แนะนำให้จัดการให้แล้วเสร็จก่อนเริ่มจดทะเบียนเลิกกิจการ เพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบของสรรพากร และสามารถวางแผนจัดการประเด็นทางด้านภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถกำหนดสถานที่ตั้งสำนักงานในการเลิกกิจการ เป็นที่อยู่ของผู้ชำระบัญชีแทนได้
สามารถทำได้ แต่ทางที่ดีที่สุดคือ หาเงินมาชำระเงินปันผลกำไรทั้งหมด ก่อนการจดเลิกกิจการ เพราะว่าหากทิ้งกำไรสะสมไว้เมื่อทำการชำระบัญชี อาจมีประเด็นทางด้านภาษีมาเกี่ยวข้องมากขึ้นโดยไม่จำเป็น
ผู้ชำระบัญชี ไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทั้งนี้หากไม่ใช่ บุคคล หรือ กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในลักษณะเดิมที่มีอยู่ก่อน จะต้องมีมติการประชุมหุ้นส่วนเพื่อแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีก่อน
ต้องดำเนินการยื่นงบย้อนหลังทั้งหมด พร้อมชำระค่าปรับ และภาษีที่เกี่ยวข้องย้อนหลังก่อนเริ่มการจดทะเบียนเลิกกิจการ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดอาจยังถูกประเมินภาษีย้อนหลังได้ภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเรียบร้อยแล้ว หากพบว่ามีการเสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง
แม้กิจการจะมีสถานะร้างจากการโดนขีดฆ่ารายชื่อจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และทำให้หมดสภาพการเป็นนิติบุคคลแล้วก็ตาม
แต่ว่าความรับผิดชอบทางด้านกฎหมายของหุ้นส่วนผู้จัดการยังคงมีอยู่ต่อไป
นอกจากนี้เจ้าหนี้ที่พบว่ามีความเสียหายจากการที่ธุรกิจอยู่ในสถานะร้าง ยังคงสามารถยื่นร้องต่อศาลเพื่อยกเลิกสถานะร้างให้เสมือนไม่เคยเกิดขึ้น
และทำการฟ้องร้องห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อไปได้อยู่ดี
โดยปกติแล้ว เมื่อจดทะเบียนเลิกกิจการ สรรพากรจะเข้าตรวจสอบการเสียภาษีประมาณ 2 ปี - 5 ปี ย้อนหลังโดยปกติ
ดังนั้นหากกิจการเสียภาษีอย่างถูกต้อง และมีเอกสารประกอบการลงบัญชีจัดเก็บไว้อย่างมีระบบอยู่แล้ว
ไม่มีความจำเป็นใดใดที่จะต้องทำงบเปล่าไว้ก่อนเริ่มจดทเะเบียนเลิกกิจการ
เมื่อหจกเป็นสถานะร้างแล้วไม่ต้องมาดำเนินการจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชีเพราะถือว่าหจกสิ้นสภาพนิติบุคคลแล้ว
แต่ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ เพราะว่า เจ้าหนี้ หรือ บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถยื่นฟ้องร้องต่อศาล เพื่อนำห้างหุ้นส่วนจำกัดกลับมาอยู่ในระบบทะเบียนเสมือนหนึ่งว่าไม่เคยโดยขีดฆ่ารายชื่อออก และมีความเป็นนิติบุคคลมาโดยตลอดได้
มาตรา 1271 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ชำระบัญชียังคงต้องเก็บสมุดบัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เป็นระยะเวลา 10 ปี
มีคำถามเพิ่มเติม ?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !