รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด รับจดทะเบียนหจก
ราคา 4,990 บาท รวมทุกอย่างแล้ว
[ จองชื่อ หจก FREE รู้ผลใน 5 นาที]
# ราคานี้เฉพาะผู้เป็น หุ้นส่วน / ผู้จัดการ สัญชาติไทย 100% #
แถมฟรี ตรายาง จดVAT พร้อมคอร์สเรียนออนไลน์ บัญชี ภาษี และธุรกิจสำหรับเจ้าของกิจการ
บริการของ THAI TAX LAW:
บริการของเจ้าอื่นในท้องตลาด:
แอดไลน์ แชทกับทีมงาน คลิก
คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
จองชื่อห้างหุ้นส่วนทันที ฟรี !
จำนวนจำกัด รับสิทธ์ง่าย ๆ คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
ขั้นตอนในการดำเนินการ
และรวมเรื่องควรรู้เมื่อคุณกำลังจะเป็นเจ้าของห้างหุ้นส่วนจำกัด
การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น เพื่อเปิดห้างหุ้นส่วนจำกัด
การจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด
การจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ไม่ใช่การจดทะเบียน แต่เป็นกระบวนการหนึ่ง ก่อนการจดทะเบียน เพราะต้องนำชื่อที่จองไว้ไป จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อไป แต่ชื่อที่จะจองและนำไปจดทะเบียนนั้นต้องอยู่ภายในหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข
เนื่องจาก กฎหมายกำหนดว่าชื่อนิติบุคคลจะต้องไม่พ้อง หรือ มีชื่อเรียกขานตรงกันหรือคล้ายคลึงกับชื่อนิติบุคคลอื่น ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จึงมีระเบียบกำหนดว่าก่อนยื่นจดทะเบียนจะต้องขอ การจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะใช้ชื่อนั้นจดทะเบียนได้
สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ทะเบียนบ้านที่ตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด
กรณีที่คุณเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สถานที่เอง ก็สามารถใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้โดยทันที โดยคุณจะต้องมีทะเบียนบ้าน ซึ่งคุณสามารถระบุ เลขรหัสประจำบ้านได้ ซึ่งข้อควรระวังก็คือ อาคารชุด หรือ คอนโดมิเนียม ถึงแม้อาจจะใช้จดห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ แต่ไม่สามารถใช้จดภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หากไม่ได้อยู่ในพื้นที่พาณิชย์ของตัวอาคาร
กรณีที่คุณไม่ใช่ เจ้าของกรรมสิทธิ์สถานที่ คุณจะต้องมีเลขรหัสประจำบ้าน ซึ่งสามารถดูได้จากทะเบียนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน อาคารพาณิชย์ หรือ อาคารสำนักงาน แต่หากคุณจะต้องการจดเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย คุณก็จะต้องมีสัญญาเช่า หรือ หนังสือยินยอมให้สถานที่ ประกอบกับ ทะเบียนบ้านอีกด้วย
จำนวนเงินลงทุน ประเภทหุ้นส่วน และสัดส่วนความเป็นเจ้าของ
จำนวนเงินลงทุน หรือ สิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะนำมาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วน สามารถลงทุนด้วย เงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วย แรงงานไม่ได้) แต่การลงทุนด้วยทรัพย์สิน หรือ แรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงิน และกำหนด ระยะเวลาชำระเงิน หรือ สิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำมาลงทุน ซึ่งควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ทั้งนี้การชำระเงินลงทุนของห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่สามารถชำระเพียงบางส่วนก่อน จะได้ต้องทำการชำระเงิน หรือตีมูลค่าการลงทุนครบทั้ง 100% ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เหมือนกับการลงหุ้นของทุนจดทะเบียนบริษัทที่สามารถเลือกชำระค่าหุ้นเพียง 25% ก่อนได้
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด หมายถึง รับผิดชอบจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวนเงินที่ตนได้ลงทุน และ ไม่มีสิทธิ์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่มีสิทธิที่จะสอบถามการดำเนินกิจการของห้าง ซึ่งรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด หมายถึง ถ้าห้างหุ้นส่วนมีหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดก่อนและ มีสิทธิเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วน โดยไม่จำกัดจำนวน
หุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ
กำหนดว่าให้ใครบ้างเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการนั้น คือ ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำาพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น มีหน้าที่บริการ และดำเนินการธุรกิจในนามของนิติบุคคล มีสิทธิ์ในการทำธุรกรรม นิติกรรมสัญญาต่างๆ ซึ่งห้างหุ้นส่วนผู้จัดการนั้น จะมีอำนาจเพียงแค่ตามที่ได้ระบุไว้ในข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ ว่าสามารถทำอะไรได้ ไม่ได้ เมื่อไรอย่างไรมาก ซึ่งหากต้องการมีการแก้ไขภายหลัง ก็ต้องมีข้อตกลงกันเรียบร้อยแล้วระหว่างผู้เป็นส่วนกัน
ตราประทับห้างหุ้นส่วนจำกัด
กฎหมายกำหนดบังคับให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะต้องมีตราประทับ หรือ ตราสำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังนั้นการจะทำธุรกรรมต่างๆ นอกจากใช้การลงลายมือชื่อของ หุ้นส่วนผู้จัดการ ตามที่กำหนดไว้แล้ว จะต้องใช้ตราประทับของห้างหุ้นส่วนในการทำธุรกรรมด้วย ซึ่งตราประทับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น หากมีชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดอยู่เป็นองค์ประกอบ ก็ต้องเป็นชื่อเต็มโดยสมบูรณ์ และเป็นชื่อที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เรียบร้อยแล้วเท่านั้น
ข้อมูลเบื้องต้นทั้งหมดนี้ คุณสามารถกรอกในแบบฟอร์มของทางทีมงาน Thai Tax Law ได้เลยง่ายๆ เช่นกัน
ยื่นจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ลงทะเบียนระบบ e-Registration หุ้นส่วนทุกคน
การยื่นคำขอจดทะเบียน สามารถยื่นแบบกระดาษที่พื้นที่สำนักงานของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งจะต้องจองคิวล่วงหน้าก่อนไปใช้บริการ และหากมีข้อผิดพลาด หรือ เอกสารไม่ครบถ้วนถูกต้องก็อาจจะต้องกลับไปยื่นใหม่อีกครั้ง
ทีมงาน THAI TAX LAW ได้ใช้วิธีการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดให้กับผู้ใช้บริการทุกคนผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้สามารถยื่นเอกสาร และข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอกนิกส์ได้ นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้น และกรรมการทุกคนจะได้ USER PASSWORD สำหรับการเข้าดูข้อมูล หรือ ยื่นเรื่องเอกสารต่างๆ ในอนาคตของห้างหุ้นส่วนจำกัดในรูปแบบออนไลน์ได้ด้วยเลยทันที
นอกจากนี้ยังสามารถขอคัดเอกสารที่เกี่ยวข้องของห้างหุ้นส่วนจำกัดในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย ซึ่งเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการคัดเอกสารหลักฐานของกิจการเพิ่มเติมในอนาคตอีกด้วย
ลูกค้าใช้มือถือ Smartphone ในการยืนยันตัวตนผ่าน VDO เท่านั้น ง่ายๆ
ยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ กรมสรรพากร - ( ไม่ทำแต่แรกก็ได้ )
ยื่นแบบ ภ.พ.01 และ ภ.พ. 01.1
เมื่อผู้ประกอบการที่ขายสินค้า หรือ ให้บริการมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือ ยังมีรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างได้ แต่ถ้าต้องการ ก็สามารถขอยื่นเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นกัน โดยการยื่นแบบ ภ.พ.01 และ ภ.พ. 01.1 ซึ่งสามารถยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่ www.rd.go.th หรือ ยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ ณ หน่วยจดทะเบียนที่ตั้งสถานประกอบการ
หากคุณจด VAT แล้วคุณก็มีหน้าที่จะต้องทำ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย ให้ทุกเดือน ส่งสรรพากร
ขึ้นทะเบียนนายจ้าง กับ สำนักงานประกันสังคม (SSO)
แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
กรณีที่คุณมีลูกจ้าง หรือ พนักงานประจำคนแรกของกิจการแล้ว คุณจะต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง และขึ้นทะเบียนลูกจ้างพร้อมการขึ้นทะเบียนนายจ้าง ภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีลูกจ้างเริ่มทำงาน โดยลูกจ้างจะต้องมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 ปี โดยในการจ่ายเงินเดือน หรือ ค่าจ้างในแต่ละเดือน คุณจะต้องหัก เงินประกันสังคม พร้อม สมทบยอดเพื่อส่งเข้ากองทุนประกันสังคมอีกด้วย เพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้
หากลูกจ้างมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับ หุ้นส่วน หรือ เป็นญาติครอบครัว ก็ไม่ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างลูกจ้าง
มีคำถามเพิ่มเติม ?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
ความเห็นจากลูกค้าของเรา
ข้อมูล REVIEW จริงจาก Google My BuSINESS
แอดไลน์ แชทกับทีมงาน คลิก
คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
การให้บริการ เข้าใจง่าย ๆ เพียง 5 ขั้นตอน
ต้องการ จ้างเปิดห้างหุ้นส่วน ทำอย่างไร
Step 1 : ติดต่อทีมงาน จองชื่อห้างหุ้นส่วน (ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย) รู้ผลทันที เก็บชื่อได้ 30 วัน
แอดไลน์ทีมงานมาที่ @THAITAXLAW พร้อมแจ้งชื่อที่ต้องการได้ทันที
Step 2 : ชำระเงินเพื่อยืนยันการ เปิดหจก และเตรียมเอกสารเบื้องต้นให้กับทีมงาน
เตรียมเอกสารเบื้องต้นที่ต้องใช้เพื่อจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
1. สำเนาบัตรประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งของห้างหุ้นส่วน
Step 3 : ทีมงานส่งลิงก์ เพื่อให้ยืนยันตัวตน ผ่านระบบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD)
ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนยืนยันตัวตน โดยคลิกลิงก์ที่ทีมงานเตรียมให้
Step 4 : ทีมงานยื่นเรื่องขอ จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ภายใน 1 วันทำการ
ทีมงานยื่นเรื่องเข้าในระบบภายใน 1 วันทำการ ทั้งนี้ความเร็วในการอนุมัติการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นกับคิวในระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
Step 5 : รับเอกสารการจดทะเบียนบริษัททั้งหมดทางอีเมล และทางไปรษณีย์
เอกสารการจดทะเบียน และหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนจะได้รับเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ครบชุด และใบทะเบียนพาณิชย์ (พค. 0401) ทาง DBD จะส่งให้กับลูกค้าทางไปรษณีย์
ต้องการเปิดหจก ตอนนี้?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
เราคัดเอกสารราชการให้คุณครบ 100% ทั้งชุด
จดห้างหุ้นส่วนทั้งที อย่าลืมเช็กให้ดี ก่อนเลือกใช้บริการ
หนังสือรับรองการนิติบุคคล
หนังสือรับรองนิติบุคคล เป็นเอกสารที่รับรองความมีตัวตนของนิติบุคคล มักจะใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ปกติมักใช้ได้เมื่ออายุไม่เกิน 6 เดือน มิฉะนั้นจะต้องทำการคัดหนังสือรับรองฉบับใหม่อีกครั้ง
ใบทะเบียนพาณิชย์ (พค. 0401)
ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท เป็นหลักฐานในการแสดงฐานะเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะได้รับ 1 ฉบับจาก DBD เท่านั้น ยกเว้นมีการเปลี่ยนแปลงชื่อห้างหุ้นส่วนในอนาคต
แบบคำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน (หส.1)
เอกสารที่ใช้ยื่นคำขอในการจดทะเบียนนิติกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ จดจัดตั้งห้างหุ้นส่วน และจดแก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนในอนาคต
รายการจดทะเบียน (หส.2)
เอกสารที่ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนนั้น ๆ เช่น รายละเอียดเฉพาะของแต่ละห้างหุ้นส่วน รายละเอียดผู้เป็นหุ้นส่วน/หุ้นส่วนผู้จัดการ และ รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรให้ทราบ
ใบสำคัญรับชำระเงินลงหุ้น
เอกสารที่แสดงว่า ห้างหุ้นส่วนได้รับเงินชำระลงหุ้นที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตกลงที่จะลงทุนในนิติบุคคลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ใบแจ้งผลจองชื่อนิติบุคคล
เอกสารที่แสดงว่า ได้มีการจองชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำเร็จ โดยมีสิทธิในการใช้ชื่อดังกล่าวในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนภายในระยะเวลาที่กำหนด
รายละเอียดวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.)
เอกสารที่แสดงถึง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน โดยปกติแล้ว ห้างหุ้นส่วนจะสามารถประกอบกิจการที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์เท่านั้น
รายการการประกอบธุรกิจ (สสช.1)
แบบแสดงรายการเกี่ยวกับ การประกอบธุรกิจของห้างหุ้นส่วนบริษัท โดยปกติแล้วจะระบุหมวดหมู่ของธุรกิจที่ห้างหุ้นส่วนจะดำเนินการเป็นหลักไม่เกิน 2 ประเภท
รายงานการประชุมตั้งห้างหุ้นส่วน
หลักฐานการประชุมของผู้เป็นหุ้นส่วน และข้อสรุปในการประชุมจัดตั้งห้างหุ้นส่วน , การดำเนินการ และการจัดตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วน
คำถามที่พบบ่อย
ปัจจุบัน [ปี พ.ศ.2564] ในการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนต้องมีผู้เริ่มก่อการอย่างน้อย 2 คนโดยต้องเป็นผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดและจำกัดความรับผิด อย่างละ 1 คน เป็นเงื่อนไขขั้นต่ำในการจดจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด
ไม่ต่ำกว่า 12 ปีบริบูรณ์
ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีการปิดงบการเงินประจำปีส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) โดยการเซ็นปิดงบ จากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)
หุ้นส่วนผู้จัดการต้องมีอย่างน้อย 1 คน ซึ่งอยู่ในฐานะผู้บริหาร และตัวแทนของห้างหุ้นส่วนในการทำนิติกรรมใดใด
ในขณะที่ผู้เป็นหุ้นส่วนมีฐานะเป็นเพียงเจ้าของเท่านั้นสามารถแต่งตั้ง/เปลี่ยนแปลงหุ้นส่วนผู้จัดการได้ตามเสียงส่วนใหญ่ของผู้เป็นหุ้นส่วน
ทั้งนี้การจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้นั้น บุคคลนั้นต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด แต่ไม่มีข้อบังคับใดใดให้หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดจะต้องเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
ได้ แต่ห้างหุ้นส่วนนั้นจะมีสถานะเป็นต่างด้าว
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบ จะมีภาระผูกพันต่อหนี้สินการฟ้องร้องไม่เกินจำนวนทุนจดทะเบียนในส่วนของหุ้นส่วนจำกัด
ขณะที่หุ้นส่วนไม่จำกัดนั้นต้องรับผิดชอบในนามส่วนตัวหากธุรกิจไม่สามารถหาเงินใช้คืนภาระหนี้สินที่มีได้
ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่กำหนดให้ ผู้มีอำนาจ หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นบุคคลที่มีฐานะเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบเท่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ บริษัทจำกัด ล้วนมีหน้าที่ในการจัดทำงบการเงิน และยื่นภาษีในรูปแบบนิติบุคคลเหมือนกัน ดังนั้นการเข้าใจว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีค่าใช้จ่ายทางบัญชีภาษีถูกกว่าบริษัท เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก
จำเป็น และในกรณีที่ตราประทับมีชื่อห้างหุ้นส่วนปรากฎอยู่ด้วยแล้วนั้น จะต้องเป็นชื่อเต็มของห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไว้ โดยต้องมีคำขึ้นต้นและคำต่อท้าย โดยในกรณีชื่อภาษาไทย ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า “ห้างหุ้นส่วน” และต่อท้ายด้วย คำว่า “จำกัด” ในกรณีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ต้องลงท้ายด้วยคำว่า “Limited หรือ Ltd.”
ทุนจดทะเบียนการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนเริ่มต้นที่เท่าไหร่ก็ได้ ไม่มีการกำหนดขั้นต่ำ แต่สำหรับการชำระ จะต้องชำระทุนจดทะเบียนทั้งหมดเท่าที่ยื่นไว้ เช่น ทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท ก็จะต้องชำระที่ 1,000,000 บาท
อย่างไรก็ตามทุนจดทะเบียน คือ ข้อผูกพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน และห้างหุ้นส่วนซึ่งสามารถเรียกชำระเงินลงหุ้นได้ ดังนั้นจึงควรกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำโดยคำนึงถึง เงินทุนหมุนเวียนกิจการที่เพียงพอตอนเริ่มกิจการ ความน่าเชื่อถือของห้างหุ้นส่วน และความเสี่ยงในการลงทุนอีกด้วย
ไม่จำเป็นต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยทันทีเมื่อจดห้างหุ้นส่วน อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าเมื่อกิจการใดมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทในปีใดใด ผู้ประกอบการจะต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ทันที ซึ่งหากละเลยผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่เกิน 1.8 ล้านบาท พร้อมทั้งเบี้ยปรับเงินเพิ่มให้แก่สรรพากร จนกว่าจะมีการดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อได้ทำการจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว จะต้องทำรายงานภาษีขาย-ภาษีซื้อ (VAT) ส่งให้ทางสรรพากรทุกเดือนอีกด้วย
หากยังไม่มีลูกจ้าง ก็ยังไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมใดใดทั้งสิ้น แต่ว่าเมื่อมีลูกจ้างคนแรกจึงไปดำเนินการขึ้นทะเบียนนายจ้าง ทั้งนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีลูกจ้างรายแรก
นอกจากนี้หากผู้ที่รับเงินเดือนห้างหุ้นส่วนที่จัดตั้งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เป็นหุ้นส่วนก็ ไม่จำเป็น ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม ยกตัวอย่างเช่น หุ้นส่วนผู้จัดการ/พนักงานเป็น สามีภรรยา พี่น้อง และคนในครอบครัวของผู้เป็นหุ้นส่วน อย่างไรก็ตาม หากยังคงต้องการที่จะขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคมในฐานะลูกจ้างก็สามารถเลือกที่จะทำได้เช่นกัน
การจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการ เช่น หากเปิดกิจการที่เกี่ยวกับการบริการอินเทอร์เน็ต , การให้บริการตู้เพลง หรือ ขายอัญมณี ก็ต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย
จำนวนผู้ก่อตั้งของห้างหุ้นส่วนจำกัดใช้เพียง 2 คนเท่านั้น ในขณะที่ปัจจุบันการจัดตั้งบริษัทยังต้องใช้ผู้ก่อนตั้งจำนวน 3 คนขึ้นไป นอกจากนี้ หจก. ก็ยังมีความเสี่ยงไม่จำกัดสำหรับหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ถือเป็น นิติบุคคลประเภทหนึ่ง ดังนั้นทุกสิ้นปีบัญชี จะต้องมีการตรวจสอบงบการเงิน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายอนุญาตให้ผู้ทำการตรวจสอบบัญชี สำหรับ กิจการประเภทห้างหุ้นส่วนนั้น จะเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือ เป็น ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) ก็ได้
มีคำถามเพิ่มเติม ?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
จดหมายจากทีมงาน THAI TAX LAW
เรื่อง การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด
เรียน ลูกค้าผู้น่ารัก ... ว่าที่เจ้าของห้างหุ้นส่วน
คุณกำลังมองหา ผู้ให้บริการ จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่จะช่วยให้คุณสามารถเปิดห้างหุ้นส่วนได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ในราคาประหยัดสุดคุ้มค่า ใช่ไหม ? ไม่หรอก จริง ๆ คุณน่าจะต้องการมากกว่านั้น
จะดีกว่าไหม ถ้าคุณจะได้ผู้ช่วยที่สามารถให้คำแนะนำในการเริ่มต้นห้างหุ้นส่วนของคุณอย่างมืออาชีพ มีแหล่งข้อมูลความรู้เพื่อให้คุณศึกษา และเตรียมตัวพร้อมกับการเป็นเจ้าของห้างหุ้นส่วนได้อย่างสบายใจ
นอกจากนี้เรายังมีส่วนลดบริการต่างๆ จากพาร์ทเนอร์ของเรา ให้กับคุณเพื่อให้การธุรกิจของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นตั้งแต่วันแรก ไม่ว่าจะเป็นบริการด้านไอที จัดทำเว็บไซต์ การตลาดออนไลน์ งานออกแบบ จัดทำวิดีโอ Motion Graphic และ บริการอื่นๆ อีกมากมาย
อย่ารอช้า ทักหาทีมงานตอนนี้เลย เพียงกดปุ่มด้านล่างนี้เพื่อ ADD LINE และคุยกับเราทันที ทีมงานของเราพร้อมให้คำแนะนำ และช่วยเหลือคุณแล้ว
ด้วยความจริงใจ
ทีมงาน Thai Tax Law
แอดไลน์ : @THAITAXLAW
สนใจบริการอื่นเพิ่มเติม?
อยากปรึกษาทีมงาน คลิกปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย !