fbpx

หน้าหลัก / ข้อหารือสรรพากร / ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินช่วยเหลือค่าพาหนะ 


ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินช่วยเหลือค่าพาหนะ

วันที่เอกสาร

25 พฤศจิกายน 2540

เลขที่หนังสือ

กค 0811/16104

เลขตู้

60/26103

ข้อกฎหมาย

ประเด็นปัญหา

ข้อหารือ

กรณีเงินช่วยเหลือค่าพาหนะในการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างเงินนอกงบประมาณในอัตราวันละ 50 บาท ในวันที่มาปฏิบัติงาน
  1. ถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องคำนวณเพื่อเสียภาษีหรือไม่
  2. การจ่ายเงินดังกล่าวต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และหรือในอัตราร้อยละเท่าใด

แนววินิจฉัย

เงินค่าพาหนะที่จ่ายให้แก่ข้าราชการและลูกจ้าง ถือเป็นประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ และผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายเพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายไม่ลงตัว ให้เพิ่มจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น

กรมสรรพากรแก้ไขล่าสุด

22 พฤษภาคม 2563

Tag :
ข้อหารือกรมสรรพากร