fbpx

เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ


การพิจารณาเครื่องหมายการค้ามีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ ให้พิจารณาตามมาตรา 7 โดยวรรคแรกอธิบายถึงความหมายของเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งหมายถึงเครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น (มีความสามารถในการแยกแยะความเป็นเจ้าของของสินค้าอย่างเดียวกัน)

Trademark Cover - เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ลักษณะบ่งเฉพาะ มี 2 ลักษณะ ดังนี้

1) ลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง ตามมาตรา 7 วรรคสอง (1) ถึง (11)

2) ลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ ตามมาตรา 7 วรรคสาม

กล่าวคือ เมื่อเครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (1) ถึง (1 1) หากผู้ขอได้มีการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และหลักฐานนั้นสามารถพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้วให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสามนี้จะไม่นำมาใช้กับเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคแรก

ระดับของลักษณะบ่งเฉพาะจากมากไปหาน้อย

✅ 1) เครื่องหมายที่เป็นคำสร้างขึ้นมาใหม่ (Fanciful Mark)

หมายถึง เครื่องหมายที่ไม่มีคำแปลหรือความหมาย เป็นคำที่คิดค้นขึ้นมาเอง เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายการค้า เช่น คำว่า Kodak Pepsi โดยให้พิจารณาด้วยว่าคำที่สร้างขึ้นมาใหม่นั้นบ่งบอกถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงหรือไม่ หากไม่ได้บ่งบอกถือว่าเครื่องหมายประเภทนี้มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองและความบ่งเฉพาะมากที่สุด

✅2) เครื่องหมายที่เป็นคำที่หยิบยกมาใช้ตามอำเภอใจ (Arbitrary Mark)

หมายถึง เครื่องหมายที่เป็นคำที่มีความหมายอยู่แล้ว เครื่องหมายรูป เครื่องหมายเสียง แต่ไม่ได้อธิบายหรือบอกลักษณะหรือคุณสมบัติโดยตรงของตัวสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนี้ เช่น คำว่า Camel แปลว่า อูฐ ใช้กับสินค้าจำพวก 34 รายการสินค้าบุหรี่ ซึ่งอูฐกับบุหรี่ไม่ได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ไม่ได้อธิบายลักษณะหรือคุณสมบัติสินค้า เครื่องหมายประเภทนี้มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเอง โดยมีความบ่งเฉพาะมากรองจากเครื่องหมายที่เป็นคำที่สร้างขึ้นมาใหม่ (Fanciful Mark)

✅3) เครื่องหมายเชิงแนะนำหรือเชิงชี้นำ (Suggestive Mark)

หมายถึง เครื่องหมายที่แนะให้รู้ถึงคุณภาพหรือลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้า ผู้บริโภคต้องใช้จินตนาการบ้าง หรือใช้ความคิดหรือแปลความหมายอีกขั้นหนึ่งก่อนเพื่อเข้าใจลักษณะหรือคุณสมบัติเกี่ยวกับสินค้า เครื่องหมายประเภทนี้บ่งเฉพาะพอที่จะจดเป็นเครื่องหมายการค้าได้ เช่น คำว่า Greyhound สำหรับบริการรถโดยสาร ผู้รับบริการต้องคิดก่อนว่า Greyhound คืออะไร Greyhound คือสุนัขพันธุ์หนึ่ง ตัวยาวขายาววิ่งเร็ว ซึ่งเป็นเครื่องหมายบริการรถสาธารณะในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ

เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้า คือ อะไร ? ข้อมูลทั่วไปเครื่องหมายการค้า

ซึ่งคำว่า "Make THE Difference" แปลรวมกันได้ว่า "ทำให้เกิดความแตกต่าง" สำหรับบริการธนาคารพาณิชย์มีลักษณะเป็นเพียงคำแนะนำไม่ใช่คำที่จะทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบและเข้าใจได้โดยทันทีถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของการให้บริการกิจการธนาคารพาณิชย์ แต่ผู้ใช้บริการจะต้องจินตนาการเพิ่มเติมจึงจะทราบได้ว่าบริการเกี่ยวกับกิจการธนาคารพาณิชย์ของผู้ขอแตกต่างจากบริการอื่นอย่างไร (ฎ.2587/2559)

❌4) เครื่องหมายที่เป็นคำบรรยายหรือคำพรรณนา หรือบรรยายโดยภาพ (Descriptive Mark)

หมายถึง เครื่องหมายที่บอกจุดประสงค์ การใช้ คุณภาพ ลักษณะ คุณสมบัติ ส่วนประกอบ หรือ แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ของสินค้า ผู้บริโภคทราบความเชื่อมโยงระหว่างเครื่องหมายกับสินค้าได้ทันทีโดยไม่ต้องอาศัยความเข้าใจหรือจินตนาการ กล่าวคือ เป็นเครื่องหมายที่มีลักษณะเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง เครื่องหมายประเภทนี้จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เว้นแต่จะมีลักษณะบ่งเฉพาะที่ได้จากการใช้หรือมีความหมายที่สอง (Distinctive through use or Secondary meaning) เช่น คำว่า Sharp ที่แปลว่า คมชัด สำหรับสินค้าโทรทัศน์ คำว่า Crunchy ที่แปลว่า กรอบ เสียงเคี้ยวดังสวบ ๆ สำหรับสินค้าคุกกี้

❌5) เครื่องหมายที่เป็นคำสามัญ (Generic Mark)

หมายถึง คำทั่วไปที่ใช้เรียกสินค้า หรือชื่อที่ใช้เรียกตัวสินค้านั้นเอง เช่น คำว่า Peanuts สำหรับสินค้าถั่ว ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้ากับสินค้าประเภทถั่วได้ หรือ คำว่า Printer สำหรับสินค้าเครื่องพิมพ์ เครื่องหมายประเภทนี้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะที่จะนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ ไม่ว่าจะใช้มานานเพียงใดก็ตาม เพราะไม่ควรให้บุคคลใดถือสิทธิในคำนั้นโดยเด็ดขาดเพียงผู้เดียว

มาตรา 7 วรรคแรก

เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามความหมายในมาตรา 7 วรรคแรก มีลักษณะเป็นสิ่งที่สาธารณชนทุกวงการทุกธุรกิจทุกกลุ่มบุคคลสามารถใช้ได้ จึงไม่มีลักษณะที่ทำให้ประชาชน หรือ ผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น โดยพิจารณากับทุกจำพวกของสินค้า เช่น

1) คำที่ใช้กันโดยทั่วไป

คือ คำที่มีความหมายเป็นการทั่วไป ซึ่งสาธารณชนทุกวงการทุกธุรกิจทุกกลุ่มบุคคลสามารถใช้ได้ และไม่ควรให้บุคคลใดมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้คำนี้ รวมถึง คำสามัญทั่วไป (Generic Term) หรือ ชื่อสินค้า ด้วย

ตัวอย่าง คำและสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วไป

เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้า คือ อะไร ? ข้อมูลทั่วไปเครื่องหมายการค้า

(1) คำแสดงความเป็นสากล เช่น International Global เป็นต้น

(2) คำแสดงการรับประกัน เช่น Guaranty Warranty เป็นต้น

(3) คำบอกรุ่นหรือลำดับของสินค้า เช่น Series No. Class Generation Type เป็นต้น

(4) ชื่อสีต่าง ๆ รวมถึงระดับของสีนั้น ๆ เช่น Green สีเขียว Dark Siver เทาเข้ม เป็นต้น

(5) คำอ่านของตัวเลขและตัวหนังสือ และจำนวนนับ เช่น เอ บี วัน ทู หนึ่ง สอง First Second Twin Double XLVI (ตัวเลขโรมัน 46) เป็นต้น

(6) ชื่อโรคต่าง ๆ เช่น โควิด 19 HIV AIDS SARS MERS Ebola H1N1 เป็นต้น

(7) คำที่เกี่ยวข้องกับประเทศ ภาษา เช่น คำว่า "อเมริกัน" แปลว่า เกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกา Italian German มั้ง อาข่า แดนอาทิตย์อุทัย Sikroad เส้นทางสายไหม เป็นต้น

(8) คำหรือสัญลักษณ์สกุลเงิน เช่น บาท Dollar เป็นต้น

(9) คำหรือสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เช่น + - % Alpha Beta ∑  β เป็นต้น

(10) รูปสัญลักษณ์ที่ใช้กันทั่วไป เช่น

- สัญลักษณ์ผู้พิการ
- สัญลักษณ์แสดงเพศหญิงเพศชาย
- สัญลักษณ์ใช้แทนสถานที่ปักหมุด  
- สัญลักษณ์  หมายถึง เล่น (Play) สัญลักษณ์  หมายถึง กรอไปข้างหน้า (Fast Forward)
- สัญลักษณ์ แสดงถึงคำสั่งของการเปิดปิดช่องเครื่องใช้ไฟฟ้า
- สัญลักษณ์ใช้แทน Wi-Fi
- สัญลักษณ์ กากบาทสีเขียวบนพื้นขาว หรือสีขาวบนพื้นเขียว หมายถึง เครื่องหมายแสดงความปลอดภัย, เครื่องหมายทางการแพทย์

(11) อื่น ๆ เช่น Eco 3D 4D Tec Tech Technology ออริจินอล ออร์แกนิค Classic เป็นต้น

2) ข้อความบรรยายทั่วไป

ข้อความที่มีความหมายเป็นการทั่วไป ซึ่งสาธารณชนทุกวงการทุกธุรกิจทุกกลุ่มบุคคลสามารถใช้ได้ ไม่สามารถแยกแยะความเป็นเจ้าของได้ และจะไม่ให้บุคคลใดมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการใช้คำนี้
ตัวอย่าง ข้อความบรรยายทั่วไปที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

(1) สำนวนสุภาษิต คำพังเพย สำนวน คำอวยพร คำทักทาย รวมถึงคำลักษณะนี้ในภาษาอื่น ๆ เช่น เข็นครกขึ้นภูเขา สุขสันต์วันเกิด สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ เป็นต้น

(2) คำภาษาอังกฤษในลักษณะวลี (Phrase) Buckle up first แปลว่า คาดเข็มขัดไว้ก่อน, Easy-Peasy แปลว่า ง่ายมาก

(3) วลีหรือคำขวัญ เช่น เทคโนโลยีเพื่อชีวิต TREAT THE CONDITION TRANSFORM THE LIFE, MAKE IT BETTER เต็มที่กับชีวิต ม่มีลิมิตชีวิตเกินร้อย คุณภาพคับแก้ว คุ้มค่าคุ้มราคา เป็นต้น

(4) อักษรย่อของวลี เช่น LOL (ย่อมาจากคำว่า Laugh Out Loud) FYI (ย่อมาจากคำว่า For Your Information)

(5) ชื่อวัน ชื่อเดือน หากแสดงในลักษณะที่เป็นคำบรรยาย ถือเป็นข้อความทั่วไปตามมาตรา 7 วรรคแรก แต่หากมีลักษณะเป็น วันผลิต วันหมดอายุ ถือว่าเป็นคำเล็งตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) เช่น 1 Jan 2020, Jan-Jun, 1Jan-15Jan แต่หากนำชื่อวัน ชื่อเดือนมาเป็นเครื่องหมายการค้า เช่น วันจันทร์ Monday เดือนมิถุนายน June ถือว่าเป็นคำที่ใช้ได้ตามอำเภอใจ มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว

3) กรณีเป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือลวดลายทั่วไป

กรณีเป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือลวดลายทั่วไป ให้พิจารณาว่า สาธารณชนจะจดจำ หรือ รับรู้ลวดลายนั้นในลักษณะเป็นเครื่องหมายการค้าหรือไม่ เช่น อาจพิจารณาว่ารูปทรงเรขาคณิต หรือลวดลายนั้นมีลักษณะพิเศษอย่างไรบ้าง เป็นลวดลายที่ใช้กันทั่วไปไม่ว่าในสินค้านั้นหรือสินค้าอื่น ๆ รวมถึงพิจารณาว่าเป็นรูปทรงเรขาคณิต หรือลวดลายที่ผู้ประกอบการรายอื่นควรมีสิทธิที่จะใช้ได้ด้วยหรือไม่ ดังนี้ รูปทรงเรขาคณิตทั่วไป หรือลวดลายที่ปรากฏบนสินค้าซ้ำ ๆ หรือไม่มีขอบเขตที่สิ้นสุด (Pattern) เช่น นำรูปไปใช้เป็นลายผ้าลายกระเป้า ไม่สามารถรับจดทะเบียนได้
ตัวอย่าง ลวดลายที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้า คือ อะไร ? ข้อมูลทั่วไปเครื่องหมายการค้า

แนวทางการพิจารณา

กรณีเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปหรือข้อความบรรยายทั่วไป ให้พิจารณากับทุกรายการสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนหากสาระสำคัญของเครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ให้นายทะเบียนสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนตามมาตรา 7 วรรคแรก ประกอบมาตรา 16

มาตรา 7 วรรคสอง

มาตรา 7 วรรคสอง เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ

มาตรา 7 วรรคสอง (1) : ชื่อตัว ชื่อสกุล

ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือ ชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

     คำว่า "ที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ" หมายถึง แสดงในลักษณะที่ไม่ใช่ลักษณะตามปกติธรรมดามีการจัดรูปแบบ เช่น มีความเว้าโค้ง มีสิ่งอื่นประกอบ (เส้น รูป รูปร่างเรขาคณิต เงา สี) หรือการใช้ภาคส่วนของเครื่องหมายที่มีขนาดต่างกัน เป็นต้น ใช้กับทั้งชื่อตัว ชื่อสกุล ชื่อนิติบุคคล และชื่อในทางการค้าคำว่า "ไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง" พิจารณาตามแนวมาตรา / วรรคสอง (2)

     แยกพิจารณาได้ 5 กรณี ดังนี้

1 ) ชื่อตัว

ชื่อตัวของบุคคลที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

     (1) ชื่อตัวของบุคคลที่มีคำนำหน้านามโดยไม่มีนามสกุล เช่น คำว่า "นายณเดช" ชื่อของบุคคลทั่วไป (ชื่อคนไม่ดัง และชื่อของบุคคลที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป (ชื่อคนดัง) รวมถึงชื่อตัวที่เมื่อเห็นแล้วเข้าใจว่าเป็นชื่อตัว เช่น ลุงมโนช จะถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะต้องแสดงลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสิค้าโดยตรง เช่น คำว่า นายณเดช (แสดงในลักษณะพิเศษ) ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ โดยไม่ต้องให้แสดงปฏิเสธคำนำหน้านาม

     (2) คำนำหน้านาม คือคำที่ใช้นำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงสถานภาพ ตำแหน่งทางวิชาการ ยศ บรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ (นำเกณฑ์ข้อ 1.1 รายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของ/ตัวแทนมาใช้ประกอบการพิจารณา) คำย่อของคำนำหน้านามต้องแสดงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ เช่น น.ส. /ด.ช. /ศ. /Mr. เป็นต้น

     (3) หากไม่มีคำนำหน้านามหรือไม่มีคำอื่นที่แสดงว่าเป็นชื่อตัว ไม่ถือว่าเป็นชื่อตัวของบุคคล (ให้พิจารณาว่าเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือไม่)

ตัวอย่าง ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

นายอำนวย น.ส.สมศรี

ตัวอย่าง ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้า คือ อะไร ? ข้อมูลทั่วไปเครื่องหมายการค้า

2 ) ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดา

ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

     (1) ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาต้องไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา

     (2) ชื่อสกุลของบุคคลจะมีชื่อตัวหรือไม่มีชื่อตัวประกอบอยู่ด้วยก็ได้ หากมีชื่อตัวประกอบอยู่ด้วย ให้พิจารณาตามเกณฑ์ 3) ชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลธรรมดา

     (3) ต้องแสดงลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

     (4) ชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา หมายถึง ชื่อสกุลที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป(ชื่อสกุลคนดัง) เช่น ติณสูลานนท์ Kyie Jenner หรือ Elon Musk แม้จะแสดงโดยลักษณะพิเศษ และไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

     (5) นามปากกา ฉายาการแสดง ไม่ถือเป็นชื่อสกุลตามอนุมาตรานี้ เช่น ทมยันตี จ๊กม๊ก ไหทองคำ มิตรชัย เป็นต้น

เกณฑ์ในการช่วยพิจารณาว่าเป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา (ชื่อสกุลคนดัง) หรือไม่

     (1) ให้สืบค้นข้อมูลจากพจนานุกรมหรืออินเทอร์เน็ตที่น่าเชื่อถือ

     (2) ชื่อสกุลคนดังทั้งในและต่างประเทศ โดยไม่จำกัดช่วงเวลาที่ดัง เช่น

- บุคคลสาธารณะ ผู้นำของรัฐ

- บุคคลดังเฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้ได้รับรางวัลระดับโลก ดีไซเนอร์ นักกีฬา นักฟุตบอล อเมริกันฟุตบอล เทนนิส นักวิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ยิมนาสติก e-sport หรือ นักกีฬาประเภทอื่น ๆ นักร้อง Pop K-Pop J-Pop ร็อก (Rock) Country Jazz เพลงเพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง ดารานักแสดงไทย หรือ ต่างประเทศ ฮอลลีวูด บอลลีวูด ซีรี่ส์เกาหลี ซีรี่ส์จีน

- บุคคลที่เป็นที่รู้จักของสาธารณะในลักษณะอื่น ๆ เช่น บุคคลที่เป็นที่รู้จักในสื่อต่าง ๆ รวมถึงโซเชียลมีเดีย ผู้เข้าร่วมหรือผู้ชนะการประกวดหรือการแข่งชัน เป็นต้น

ตัวอย่าง ชื่อสกุลที่รู้จักกันโดยทั่วไปที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ติณสูลานนท์, ศิลปอาชา, ทรัมป์, Nobel, Da Vinci

3 ) ชื่อตัว และชื่อสกุลของบุคคลธรรมดา

ชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

     (1) ชื่อตัวและชื่อสกุลจะมีคำนำหน้านามหรือไม่มีก็ได้ เช่น Tae Ashida สมหวังสูงส่ง เป็นต้น เมื่อเห็นแล้วเข้าใจได้ว่าเป็นชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคล

     (2) กรณีชื่อสกุลต้องไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ให้พิจารณาตามเกณฑ์ 2) ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดา

     (3) ต้องได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้ว ต้องได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามี

     (4) กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของชื่อตัวและชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดาหรือได้รับอนุญาตจากเจ้าของชื่อและชื่อสกุลที่เป็นที่รู้จักนั้นจริง หากมีหลักฐานว่าผู้ขอเป็นเจ้าของหรือได้รับอนุญาตจริง ก็ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ เช่น ดารา นักแสดง นักฟุตบอล เป็นต้น

     (5) ต้องแสดงลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

แนวทางการพิจารณา

1) ชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลธรรมดา ให้พิจารณาร่วมกับชื่อเจ้าของเครื่องหมาย

     (1) กรณีเป็นชื่อตัวและชื่อสกุลของเจ้าของเครื่องหมาย ไม่ต้องมีหนังสืออนุญาต/ยินยอมให้ใช้ชื่อตัวและชื่อสกุล
     (2) กรณีเป็นชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นชื่อของเจ้าของเครื่องหมาย เช่น นายสมหวัง สูงส่ง เจ้าของเครื่องหมายมายื่นเครื่องหมายคำว่า มานี มีนา ต้องมีหนังสืออนุญาต/ยินยอมให้ใช้ชื่อตัวและชื่อสกุลจากบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วต้องได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น (ถ้ามี) หากไม่มีหนังสือยินยอม ให้นายทะเบียนมีคำสั่งตามมาตรา 12 ตค. 5 ข้อ 7 โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะ ดังนี้ :

“ให้ส่งหนังสือแสดงการได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วต้องได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น (ถ้ามี)”

2) กรณีชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่มีคำนำหน้านาม เช่น Tae Ashida, มานี มีนา เป็นต้น เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าอาจเป็นชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคล ให้สืบคันข้อมูลจากพจนานุกรมหรืออินเทอร์เน็ตที่น่าเชื่อถือ     หากไม่พบข้อมูลและยังเป็นที่สงสัยว่าเป็นชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลหรือไม่ ให้นายทะเบียนมีคำสั่งตามมาตรา 12 ตค. 5 ข้อ 7 โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะ ดังนี้ :

“ให้ผู้ขอส่งหลักฐานเพื่อแสดงว่าเป็นชื่อและชื่อสกุลของบุคคลหรือไม่ หากเป็นชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลให้ส่งหนังสือแสดงการได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วต้องได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น (ถ้ามี)”

ตัวอย่าง ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - ชื่อตัวและชื่อสกุลที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

4 ) ชื่อเต็มของนิติบุคคล

ชื่อเต็มของนิติบุคคลที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

     (1) ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หมายความว่า ชื่อนิติบุคคลที่มีคำแสดงนิติฐานะไว้ด้วย ทั้งนิติบุคคลไทยและนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถ้ากฎหมายนั้นกำหนดชื่อของนิติบุคคลว่าจะต้องเขียนอย่างไร อนุมาตรานี้ก็หมายความว่าต้องเขียนอย่างที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้

- นิติบุคคลไทย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด) หรือตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด ถ้ากฎหมายนั้นกำหนดชื่อของนิติบุคคลว่าจะต้องเขียนอย่างไร อนุมาตรานี้ก็หมายความว่าต้องเขียนอย่างที่กฎหมายนั้นกำหนดไว้ เช่น บริษัท แนนนี่ คอสเมติกส์ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด เจริญชัย เป็นต้น

- นิติบุคคลต่างประเทศ ชื่อนิติบุคคลให้มีคำแสดงนิติฐานะไว้ด้วย เว้นแต่กฎหมายของประเทศนั้นกำหนดว่าจะระบุคำแสดงนิติฐานะไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ ให้พิจารณาจากหนังสือมอบอำนาจ

     (2) ต้องแสดงลักษณะพิเศษ และต้องไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

ตัวอย่าง ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - ชื่อเต็มนิติบุคคลที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

5 ) ชื่อในทางการค้า

ชื่อในทางการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ มีหลักเกณฑ์ดังนี้

     (1) ชื่อในทางการค้า คือ ชื่อที่ใช้ในการประกอบธุรกิจโดยมีคำแสดงลักษณะของธุรกิจ เช่น ร้าน ห้าง การพาณิชย์ การช่าง เป็นต้น กำกับไว้อย่างชัดเจน เช่น ชายสี่หมี่เกี๊ยว ช.การช่าง ก.พาณิชย์ ห้างทองโต๊ะกัง K Printing เป็นต้น

     (2) ต้องแสดงลักษณะพิเศษ และต้องไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

     (3) หากสามารถจดทะเบียนได้ อาจให้สละสิทธิคำที่แสดงลักษณะของธุรกิจนั้น

ตัวอย่าง ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - ชื่อทางการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

มาตรา 7 วรรคสอง (2) : คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของ
สินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

กรณีที่ 1 : คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง

     (1) คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง หมายถึง คำหรือข้อความที่มีความหมายทำให้ทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีว่า สินค้าหรือบริการนั้น มีลักษณะ รูปร่างหรือขนาดเป็นอย่างไร
     เช่น วัตถุดิบของสินค้า รูปร่างรวมถึงรูปร่างของบรรจุภัณฑ์ของสินค้า กระบวนการหรือระยะเวลาการผลิตสินค้า ลักษณะพิเศษอื่น ๆ ของสินค้า วิธีการใช้หรือจำนวนการใช้ของสินค้า จำนวนของสินค้า ราคาของสินค้า สถานที่ในการรับบริการ วิธีการให้บริการกระบวนการหรือระยะเวลาการให้บริการ วิธีการหรือจำนวนครั้งในการรับบริการ อัตราค่าบริการ ทั้งนี้ รวมถึง คำที่เขียนขึ้นตามสำเนียงเรียกขานของคำในภาษาอื่น (คำทับศัพท์ คำที่เขียนขึ้น โดยเจตนาใช้ตัวอักษรสะกดคำที่ผิดหลักไวยากรณ์ รวมถึงคำผวนของคำดังกล่าวด้วย
     กรณีชื่อวัน ชื่อเดือน หากแสดงในลักษณะที่เป็นคำบรรยาย ถือเป็นข้อความทั่วไปตามมาตรา 7 วรรคแรก แต่หากมีลักษณะเป็น วันผลิต วันหมดอายุ ถือว่าเป็นคำเล็งตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) เช่น 1 Jan2020, Jan-Jun, 1 Jan- 15Jan แต่หากนำชื่อวัน ชื่อเดือนมาเป็นเครื่องหมายการค้า เช่น วันจันทร์ MONDAY เดือนมิถุนายน JUNE ถือว่าเป็นคำที่ใช้ได้ตามอำเภอใจ มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว

     (2) คำหรือข้อความที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง หมายถึง คำหรือข้อความที่มีความหมายทำให้ทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีว่า สินค้า/บริการนั้นมี คุณสมบัติ อรรถประโยชน์ หรือมีสรรพคุณ เป็นอย่างไร
     เช่น คุณภาพของสินค้า ประสิทธิภาพของสินค้า จุดประสงค์ของสินค้า คุณภาพ หรือ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ได้รับจากบริการ ประสิทธิภาพของบริการ จุดประสงค์ของบริการ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติในเชิงบวกหรือลบ ทั้งนี้รวมถึง คำที่เขียนขึ้นตามสำเนียงรียกขานของคำในภาษาอื่น (คำทับศัพท์) คำที่เขียนขึ้นโดยเจตนาใช้ตัวอักษรสะกดคำที่ผิดหลักไวยากรณ์ รวมถึงคำผวนของคำดังกล่าวด้วย

แนวทางการพิจารณา

1) นายทะเบียนอาจรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น อินเทอร์เน็ตที่น่าเชื่อถือในการสรุปความหมายของเครื่องหมายนั้นได้

2) การพิจารณาว่าเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่นั้น นายทะเบียนไม่ควรใช้จินตนาการส่วนตัวเกินควร

3) คำหรือข้อความใดเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าคำหรือข้อความ มีความหมายให้รู้ถึงลักษณะหรือคุณสมบัตินั้น เมื่อพิจารณาต่อไปว่าคำหรือข้อความนั้นสามารถสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในทันทีหรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจถึงสักษณะหรือคุณสมบัติถือว่าคำหรือข้อความดังกล่าวเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง แต่หากคำหรือข้อความมีความหมายถึงลักษณะหรือคุณมบัติแล้ว และเมื่พิจารณาต่อไปคำหรือข้อความนั้นผู้บริโภคยังต้องใช้วิจาณญาณพอสมควรจึงจะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น ไม่ถือว่าเป็นคำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

ตัวอย่าง

คำว่า STEELSCREW อ่านว่า สตีสกรู มีความหมายว่า สกรูเหล็ก เมื่อนำมาใช้กับสินค้า ตะปูเกลียวทำด้วยโลหะ อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในทันทีว่า เป็นสินาตะปูเกลียวที่ทำจากเหล็ก จึงเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง

4) คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง มีลักษณะดังต่อไปนี้

        (1) เป็นคำหรือข้อความที่มีความหมายหรือคำแปลหากมีหลายความหมายและความหมายใดความหมายหนึ่งเส็งถึงสักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโตยตรงให้ถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ทั้งนี้ ให้รวมถึงคำย่อและอักษรย่อของคำนั้นด้วย

ตัวอย่าง

- คำว่า Coo( เป็นคำที่มีความหมายแปลว่า เย็น ดีเลิศ เย็นลง ทำให้เย็นลง ความทันสมัยเมื่อใช้กับสินค้าจำพวก 17 รายการสินค้า ฟิล์มกรองแสง ทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นสินค้าฟิล์มกรองแสงที่ทำให้อุณหภูมิเย็นลง จึงเป็นคำที่เล็งถึงคุณมบัติของสินค้าโดยตรง หากใช้กับสินค้าจำพวก 25 รายการสินค้าเสื้อเชิ้ต ทำให้เข้าใจได้ว่า เป็นสินค้าที่สวยงามทันสมัย จึงเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

ตัวอย่าง

- คำว่า Max เป็นคำย่อของคำว่า Maximum, คำว่า Tech, Tec เป็นคำย่อของคำว่า Technology, คำว่า Eco เป็นคำย่อของคำว่า Ecological คำว่า Pro เป็นคำย่อของคำว่า Professional ซึ่งคำย่อดังกล่าวอาจพิจารณาความหมายหากสามารถสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจใด้ในทันทีหรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น ถือว่าคำนั้นเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

        (2) คำที่เขียนขึ้นตามสำเนียงเรียกขานของคำในภาษาอื่น (คำทับศัพท์) ให้พิจารณาจากความหมายหรือคำแปลในภาษานั้น

ตัวอย่าง

คำว่า AROY-DEE เขียนเลียนเสียงภาษาไทยคำว่า อร่อยดี เมื่อใช้กับสินค้า ผงปรุงรสอาหารจึงเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโตยตรง

        (3) เป็นคำหรือข้อความที่เขียนขึ้น โดยเจตนาใช้ตัวอักษรสะกตคำที่ผิดหลักไวยากรณ์ หากพิจารณาสำเนียงเรียกขานแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำหรือข้อความที่มีความหมาย และความหมายนั้นบรรยายถึงรูปลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง โดยไม่ถือเป็นคำประดิษฐ์

        (4) เป็นคำหรือข้อความที่เขียนขึ้นโดยการนำคำที่มีความหมายตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมารวมกัน และความหมายของคำดังกล่าวอาจตีความได้โดยง่ายว่าเป็นคำบรรยายถึงรูปลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (2) Clearview

คำว่า Clear แปลว่า ใสสะอาด ชัดเจน คำว่า view แปลว่า สายตาการมอง รวมกันแปลได้ว่า การมองเห็นที่ชัดเจน เมื่อนำมาใช้กับสินค้าคอนแทคเลนส์ ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสินค้าคอนแทคเลนส์ที่ทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง

        (5) คำหรือข้อความที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง แม้ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษก็ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (2) รสหนึ่ง

ใช้กับบริการ อาหารและเครื่องดื่ม

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (2) อร่อยเหาะ

ใช้กับบริการ อาหารและเครื่องดื่ม

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (2) เคมีภัณฑ์

เคมีภัณฑ์ ใช้กับสินค้า สารเคมี

5) กรณีเครื่องหมายรูปและคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าในลักษณะประดิษฐ์ หากคำไม่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ให้มีคำสั่งสละสิทธิคำตามมาตรา 17 ได้

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (2) ออเดิร์ฟหมู

ใช้กับสินค้า อาหารว่างที่ทำจากเนื้อสัตว์ ให้สละสิทธิคำว่า "ออเดิร์ฟหมู" ตามมาตรา 17 ได้

กรณีที่ 2 : คำหรือข้อความต้องไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(1) ชื่อทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อสถานที่ต่าง ๆ ตามภูมิศาสตร์ ไม่ว่าเป็นสถานที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทย หรือของต่างประเทศ

(2) ชื่อภูมิศาสตร์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ตามมาตรา 7 วรรคสอง (2)

         1. ชื่อประเทศ ชื่อกลุ่มประเทศ ชื่อภูมิภาค หรือเขตปกครองตนเองซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับประเทศ

ตัวอย่าง

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียน ASEAN สหภาพยุโรป European Union สแกนดิเนเวีย แคนาดา

         2. ชื่อทวีป แคว้น รัฐ มณฑล หรือชื่อเมืองหลวงของประเทศ

ตัวอย่าง

เอเชีย ยุโรป แอฟริกา แคว้นบาวาเรีย แคว้นสิบสองปันนา Tascan รัฐท็กซัส แคนเบอร์รา เมลเบิร์น กรุงเทพมหานครฯ

         3. ชื่อมหาสมุทร

ตัวอย่าง

อาร์กติก แปซิฟิก อินเดีย แอตแลนติก

         4. ชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปในประเทศไทยรู้จักกันแพร่หลาย เช่น เขตปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ คาบสมุทร ทะเล อ่าว เกาะ ทะเลสาบ ภูเขา แม่น้ำ จังหวัด เมืองท่า อำเภอ ถนน เป็นต้น

ตัวอย่าง

ตะวันออกกลาง คาบสมุทรบอลติก ทะเลสาบเดดซี แม่น้ำเทมส์ แม่น้ำคงคา แม่น้ำโขง แยงซีเกียง คลองแสนแสบ หาดจอมเทียน ดอยปุย ดอยวาวี ภูกระดึง เขาคิชฌกูฏ เขื่อน เชี่ยวหลาน จังหวัดและอำเภอของไทยทั้งหมด ตำบลลานสกา สามย่าน แยกแราย ถนนเจริญกรุง ถนนข้าวสาร ถนนสีลม ทำพระจันทร์ สะพานพุทธ Route 66 พัฒน์พงษ์ ซอยคาวบอย ซอยท่านผู้หญิงพหล

ชื่อทางภูมิศาสตร์ข้างต้นให้หมายความรวมถึงชื่อย่อ ชื่อเดิม หรือชื่อที่ใช้เรียกขานทั่วไปโดยไม่จำกัดเฉพาะชื่อในทางราชการ ตัวอย่าง สยาม ล้านนา โคราช มลา Nippon Burma Java (ชวา) นอร์ดิก ชื่อทางภูมิศาสตร์ข้างต้นให้หมายความรวมถึงชื่อย่อ ชื่อเดิม หรือชื่อที่ใช้เรียกขานทั่วไปโดยไม่จำกัดเฉพาะชื่อในทางราชการ

ตัวอย่าง

สยาม ล้านนา โคราช มลา Nippon Burma Java (ชวา) นอร์ดิก

แนวทางการพิจารณา

1) ชื่อทางภูมิศาสตร์แม้ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษก็ไม่สามารถจดทะเบียนได้

2) คำที่เขียนขึ้นตามสำเนียงเรียกขานของชื่อภูมิศาสตร์ในภาษาอื่น (คำทับศัพท์) ก็ให้ถือเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (2) KunLun

เป็นคำที่เขียนตามคำภาษาจีน คำว่า คุนหลุน เป็นชื่อภูเขาในมณฑสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (2) Krungthep

คำว่า Krungthep อ่านว่า กรุงเทพ เป็นชื่อเมืองหลวงประเทศไทย เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (2) Samui

คำว่า Samui อ่านว่า สมุย เป็นชื่อเกาะในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ แม้ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษก็ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (2) Fuji

คำว่า Fuji อ่านว่า ฟูจิ เป็นชื่อภูเขาไฟในประเทศญี่ปุ่น เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ แม้ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษก็ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

3) ชื่อทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปในประเทศไทยรู้จักกันแพร่หลาย พิจารณาจากความรับรู้ของสาธารณชนชาวไทย เช่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองสำคัญ สถานที่สำคัญ เมืองมรดกโลก และอาจต้องห้ามไม่รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (9) ด้วย ตัวอย่าง ทัชมาฮาล ทำเนียบขาว เทพีเสรีภาพ มาชูปิกชู Stonehenge (คำวินิจฉัยคกก.ที่ 771/2561)

4) ชื่อประเทศเป็นคำเดียวกับชื่อสัญชาติ พิจารณาดังนี้

     (1) คำว่า อินเดียน ให้พิจารณาเป็น ชื่อสัญชาติ โดยมีคำสั่งตามมาตรา 7 วรรคแรก
     (2) คำว่า ญี่ปุ่น (เป็นชื่อสัญชาติและชื่อประเทศ) ให้พิจารณาว่าเป็น ชื่อประเทศ โดยมีคำสั่งตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) และต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (6)

5) กรณีชื่อภูมิศาสตร์เป็นคำเดียวหรือชื่อเดียวกับองค์การระหว่างประเทศ พิจารณาดังนี้

ตัวอย่าง

สหภาพยุโรป European Union เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ โดยมีคำสั่งตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) และเป็นชื่อองค์การระหว่างประเทศ ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (6)

มาตรา 7 วรรคสอง (3) : คำที่ประดิษฐ์ขึ้น

1) คำที่ประดิษฐ์ขึ้น หมายถึง คำที่สร้างขึ้นใหม่โดยไม่มีความหมายหรือคำแปลรวมถึงการนำคำที่มีความหมายมารวมกับคำที่ไม่มีความหมาย

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (3) REIMA

- คำว่า    อ่านว่า ริมา เป็นคำที่สร้างขึ้นใหม่โดยไม่มีความหมายถือว่าเป็นคำประดิษฐ์

HAIRBEAURON

- การนำคำที่มีความหมายมารวมกับคำที่ไม่มีความหมาย เช่น คำว่า ใช้กับสินค้าจำพวก 3 รายการสินค้า ครีมบำรุงผม โดยมีสองคำแรกเป็นคำว่า HAIR แปลว่า ผม คำว่า BEAU เป็นภาษาฝรั่งศส แปลว่า สวย หล่อ มีความหมายรวมกันว่า ผมสวย ส่วนคำว่า “RON” เป็นคำไม่มีความหมาย เมื่อนำมาเขียนติดกันแปลรวมกันแล้วไม่มีความหมาย ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์

2) กรณีคำที่อาจมองได้ว่าเป็นคำที่มีความหมายแต่นำมาเขียนแยกกันด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ให้พิจารณาร่วมกับคำอ่านแปลของผู้ขอ

ตัวอย่าง

- Re-AL  Re-Al  Re-al  RE-AL  RE.AL หากผู้ขออ่านเป็นคำอื่น เช่น เรอัล ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์ แต่หากผู้ขออ่านว่า เรียล กรณีนี้ ไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์

แนวทางการพิจารณา

1) คำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง หรือชื่อทางภูมิศาสตร์ที่นำมาออกแบบให้มีลักษณะสวยงาม ไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์

2) คำที่เขียนขึ้นโดยเจตนาใช้ตัวอักษรสะกดคำผิดจากหลักไวยากรณ์ หากพิจารณาสำเนียงเรียกขานแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นคำที่มีความหมายและความหมายดังกล่าวเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์

3) คำที่เขียนขึ้นโดยการนำคำที่มีความหมายตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปรวมกันไม่ว่าจะโดยลักษณะใดให้พิจารณาความหมายโดยรวม หากยังสามารถแปลความหมายโดยรวมได้และความหมายโดยรวมนั้นสามารถสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ในทันทีหรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจถึงลักษณะหรือคุณสมบัติ ของสินค้านั้น ถือว่าคำนั้นเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง และไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์แต่หากแปลรวมกันแล้วไม่มีความหมาย ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (3) Watchkit

คำว่า   ใช้กับสินค้าจำพวก 9 นาฬิกา การนำคำที่มีความหมายสองคำมาเรียงต่อกันโดยขึ้นต้นคำด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เจตนาให้ผู้พบเห็นแยกคำออกเป็นสองคำ คือคำว่า Watch แปลว่านาฬิกา และคำว่า Kit แปลว่า ชุดเครื่องมือ รวมกันแปลได้ว่า ชุดเครื่องมือสำหรับนาฬิกา เมื่อนำมาใช้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 9 รายการสินค้า นาฬิกาอัจฉริยะ ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสินค้าชุดอุปกรณ์สำหรับนาฬิกาอัจฉริยะ นับว่าเป็นคำที่เส็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม มาตรา 7 วรรคสอง (2) และไม่เป็นคำประดิษฐ์

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (3) Drydye

คำว่า  ใช้กับสินค้าจำพวก 24 ผ้าเป็นผืน การนำคำที่มีความหมายสองคำมาเรียงต่อกัน คือคำว่า dry แปลว่า แห้ง และคำว่า dye แปลว่า สารย้อมผ้า ย้อมสี รวมกันแปลได้ว่า ย้อมสีแบบแห้ง เมื่อนำมาใช้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 24 รายการสินค้า ผ้าเป็นผืน ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสินค้าผ้าที่ย้อมสีแบบแห้ง นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม มาตรา 7 วรรคสอง (2) และไม่เป็นคำประดิษฐ์

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (3) Haobashi

อักษรจีนคำว่า 好巴食 hǎo bā shí  ใช้กับสินค้าลูกกวาด ขนมหวาน
อักษรจีนกลาง/แต้จิ๋ว ตัวที่ 1 อ่านจากซ้ายไปขวา ห่าว/ฮ่อ แปลว่า ดี
อักษรจีนกลาง/แต้จิ๋ว ตัวที่ 2 อ่านจากข้ายไปขวา ปา/ปา แปลว่า เกาะติด , เหนียวติด , หวัง, ปรารถนา
อักษรจีนกลาง/แต้จิ๋ว ตัวที่ 3 อ่านจากข้ายไปขวา สื่อ/จี๊ยะ แปลว่า กิน , อาหาร
อักษรจีนกลาง/แต้จิ๋ว ตัวที่ 1-3 รวมกันแปลไม่ได้ (สถาบันแปลภาษาที่น่าเชื่อถือ ระบุว่าแปลไม่ได้ อ่านแล้วไม่มีความหมาย) ถือเป็นคำที่ประดิษฐ์

4) การนำตัวอักษรธรรมดาและคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ มาเรียงต่อกัน เช่น คำว่า BWhite ซึ่งคำว่า White แปลว่า สีขาว เป็นคำทั่วไปตามมาตรา 7 วรรคแรก ไม่ถือเป็นคำประดิษฐ์

มาตรา 7 วรรคสอง (4) : ตัวหนังสือ หรือ ตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น

ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น หมายถึง ตัวหนังสือหรือตัวเลขในภาษาใด ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ผิดแผกไปจากที่ใช้กันโดยทั่วไป แยกพิจารณาได้ 3 กรณี ดังนี้

1) ตัวหนังสือที่ประดิษฐ์ขึ้น
2) ตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น
3) ตัวหนังสือและตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น

แนวทางการพิจารณา

1) ลักษณะของตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น เช่น

         (1) มีลักษณะเกาะเกี่ยวกัน ซ้อนทับกัน
         (2) มีความหนา ความลึก
         (3) เขียนเป็นลวดลาย เช่น ลายกนก ลายหมากรุก เป็นต้น
         (4) ซ้อนกันเป็นเงา

ตัวอย่าง ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (4) พิจารณา 1 มีลักษณะบ่งเฉพาะ

2) ลักษณะการประดิษฐ์ต้องเพียงพอให้เห็นว่าแตกต่างจากปกติธรรมดา เช่น

         (1) ตัวหนังสือธรรมดา มีภาพพื้นหลัง

ตัวอย่าง การประดิษฐ์ตัวอักษรเพียงพอ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (4) พิจารณา 2-1 ประดิษฐ์ตัวอักษร

         (2) ตัวหนังสือธรรมดาวางในกรอบหรือวางบนรูปอื่นๆ

ตัวอย่าง การประดิษฐ์ตัวอักษรเพียงพอ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (4) พิจารณา 2-2 ประดิษฐ์ตัวอักษร

         3) กรณีตัวหนังสือ ตัวเลข เรียงกันตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไปโดยไม่เป็นตามลำตับ ถือว่าเป็นตัวหนังสือ หรือ ตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้นมีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว แต่ไม่รวมถึงคำอ่านของตัวหนังสือ ตัวเลขนั้น

ตัวอย่าง ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (4) พิจารณา 3 มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (4) พิจารณา 3 ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

         4) กรณีตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น ให้พิจารณามาตรา 7 วรรคสอง (2) ประกอบด้วย เช่น
                     - ชื่อวิตามิน A B1 B6 B12 ใช้กับสินค้า อาหารเสริม เครื่องดื่ม แม้ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษก็ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เนื่องจากเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง
                     - ชื่อธาตุอาหารหลัก N P K ใช้กับสินค้า ปุ๋ย หรืออาหารเสริมพืช แม้ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษก็ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เนื่องจาก N ย่อมาจากคำว่า Nitrogen (ในโตรเจน) P ย่อมาจากคำว่า Phosphorus (ฟอสฟอรัส) K ย่อมาจากคำว่า Potassium (โปรแทสเซียม) จึงเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง
                     - ขนาดของสินค้า เช่น “XXL” สำหรับเสื้อผ้า “34B” สำหรับเสื้อชั้นใน
                     - ปริมาณ เช่น “200” สำหรับบุหรี่ (มวน)
                     - ขนาดหน่วยความจำ “32GB” สำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์

         5) กรณีตัวเลข เช่น 2021 2563 199 การพิจารณาว่าเป็นตัวเลขแสดงถึงปี หรือจำนวนเงิน หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงคำที่แสดงถึงสิ่งนั้นประกอบด้วย เช่น พ.ศ. B.E. ค.ศ. A.D. บาท หรือคำอื่นในทำนองเดียวกัน เช่น พ.ศ. 2563 199 บาท ให้มีคำสั่งตามมาตรา 7 วรรคแรก

ตัวอย่าง กรณีไม่ถือเป็นเลขแสดงถึงปี แต่เป็นตัวเลขประดิษฐ์

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (4) Burger2011

มาตรา 7 วรรคสอง (5) : กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ

พิจารณาประกอบระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นกลุ่มของสี ดังนี้

1) ผู้ขอต้องบรรยายลักษณะกลุ่มของสีว่าประกอบด้วยสีอะไรบ้าง และแต่ละสีจัดเรียงอยู่ในลักษณะใด ให้ชัดเจน

2) กลุ่มของสี หมายถึง การรวมกันเป็นกลุ่มของสีตั้งแต่ 2 สีขึ้นไป ซึ่งไม่รวมถึงสีขาว-ดำ ไม่ว่าจะวางในลักษณะใดก็ตาม โดยจะวางเรียงชิดติดกันหรือไม่ก็ได้

3) กลุ่มของสีแสดงโดยลักษณะพิเศษ หมายถึง กลุ่มของสีที่ได้นำมาจัดวางให้มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากเส้นหรือแถบตรงในแนวตั้ง แนวนอนตามปกติ

4) กลุ่มของสีที่ไม่ได้แสดงโดยลักษณะพิเศษ เช่น

     (1) เป็นสีโดยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง เช่น สีของเนื้อไม้แล้วนำมาใช้กับสินค้าเฟอร์นิเจอร์

     (2) เกิดจากหน้าที่การทำงานหรือการใช้งานของสินค้านั้น เช่น สีขาว สีน้ำเงินหรือสีนวลจากหลอดไฟ สำหรับสินค้าหลอดไฟที่จะมีสีดังกล่าวเมื่อเปิด

     (3) แถบสีที่จัดเรียงกันธรรมดา เช่น แถบสีต่าง ๆ จำนวนไม่มาก เช่น 2 สี หรือ 3 สีที่จัดวางเป็นแถบตรงในแนวตั้ง แนวนอนตามปกติ

5) กลุ่มของสี ต้องไม่ใช่สีของเครื่องหมายที่เป็นภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำข้อความ ตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ รูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุหรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน

6) เครื่องหมายที่เป็นกลุ่มของสีจะต้องเป็นเครื่องหมายที่ไม่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 8 เช่น กลุ่มของสีที่วางเรียงกันมีลักษณะเป็นธงชาติหรือกลุ่มของสีที่จัดเรียงขึ้นเป็นเครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นต้น

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (5) กลุ่มของสีที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง กลุ่มของสีที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (5) กลุ่มของสีที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง กลุ่มของสีที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

แนวทางการพิจารณา

1) ผู้ขอระบุในคำขอจดทะเบียนแบบ ก.01 ว่าประสงค์จะขอรับความคุ้มครองในลักษณะที่เป็นเครื่องหมายกลุ่มของสี โดยไม่ได้บรรยายลักษณะของสี ลำดับแรกพิจารณาก่อนว่า เครื่องหมายมีลักษณะเป็นกลุ่มของสีหรือไม่

     (1) กรณีไม่มีลักษณะเป็นกลุ่มของสี แต่มีลักษณะเป็นเครื่องหมายในลักษณะอื่น เช่น คำหรือ ข้อความ เป็นต้น (ผู้ขอระบุผิด) ให้นายทะเบียนมีคำสั่ง ตค. 9 ข้อ 10  โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะ ดังนี้ :

     “ตามที่ท่านได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายรายนี้ โดยระบุในคำขอจดทะเบียนแบบ ก.01 ว่าประสงค์จะขอรับความคุ้มครองในลักษณะที่เป็นเครื่องหมายกลุ่มของสีนั้น นายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายของท่านไม่มีคุณสมบัติเป็นเครื่องหมายในลักษณะดังกล่าว นายทะเบียนจะพิจารณาเครื่องหมายของท่านตามลักษณะที่ยื่นไว้ต่อไป”

     (2) กรณีมีลักษณะเป็นเครื่องหมายกลุ่มของสี ให้นายทะเบียนมีคำสั่ง ตค. 9 ข้อ 10 อาจใช้ข้อความในลักษณะ ดังนี้ :

    “ตามที่ท่านได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายรายนี้ โตยระบุในคำขอจตทะเบียนแบบ ก.01 ว่าประสงค์จะรับความคุ้มครองในลักษณะที่เป็นเครื่องหมายกลุ่มของสี แต่ไม่ใด้ส่งคำพรรณนาให้ชัดเจนว่ากลุ่มของสีประกอบด้วยสีอะไรบ้าง และแต่ละสีจัดเรียงอยู่ในลักษณะใด ซึ่งเป็นกำหนดที่จำเป็นในการขอรับความคุ้มครอง ดังนั้น หากท่านประสงค์จะขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายในลักษณะดังกล่าว ให้ส่งคำพรรณนาให้ชัดเจนโดยใช้แบบ ก.06 แก้ไข ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ หากพ้นกำหนดระยะเวลาตังกล่าวท่านไม่ส่งคำพรรณา นายทะเบียนจะพิจารณาคำขอตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำขอจดทะเบียนต่อไป”

2) กรณีผู้ขอยื่นคำขอเครื่องหมายเป็นรูปสี และบรรยายลักษณะของสีมาในแบบ ก.01 เช่น เครื่องหมายที่เป็นภาพประดิษฐ์ คำ ข้อความ รวมกัน เป็นต้น โดยไม่มีลักษณะเป็นกลุ่มของสี ให้นายทะเบียนมีคำสั่ง ตค. 9 ข้อ 10 โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะ ดังนี้ :

     "ตามที่ท่านได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายรายนี้ โดยระบุในคำขอจดทะเบียนแบบ ก.01ว่าประสงค์จะขอรับความคุ้มครองในลักษณะที่เป็นเครื่องหมายกลุ่มของสีนั้น นายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายของท่านไม่มีคุณสมบัติเป็นเครื่องหมายกลุ่มของสีตามที่กฎหมายกำหนด แต่เป็นเครื่องหมายที่ตัวอักษรของคำและรูปเป็นสี นายทะเบียนจะพิจารณาเครื่องหมายของท่านในลักษณะเครื่องหมายธรรมดาต่อไป"

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (5) พิจารณา 2 ลักษณะสี

3) กรณีเครื่องหมายกลุ่มของสี มีข้อความหรือถ้อยคำอื่นใดประกอบอยู่ในเครื่องหมายด้วย

     (1) หากกลุ่มของสีไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ให้ถือว่ากลุ่มของสีเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายโดยสั่งมาตรา 7 ไม่นำมาตรา 17 มาใช้

     (2) หากกลุ่มของสีมีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่ภาคส่วนอื่นที่ประกอบอยู่ในเครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
               - หากภาคส่วนอื่นไม่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ให้มีคำสั่งมาตรา 17 กับภาคส่วนนั้น
               - หากภาคส่วนอื่นเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ให้มีคำสั่งมาตรา 7 กับภาคส่วนนั้น

มาตรา 7 วรรคสอง (6) : ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเดิมของกิจการ
ของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว

1) ต้องเป็นลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเติมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน
2) กรณีเป็นลายมือชื่อของบุคคลอื่นจะต้องมีหนังสือให้ความยินยอมประกอบคำขอจดทะเบียนด้วย

แนวทางการพิจารณา

1) ต้องเป็นลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน โดยพิจารณาจากลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนในแบบ ก.01

2) กรณีเครื่องหมายการค้าเป็นลายมือชื่อของบุคคลอื่น หรือเป็นการยื่นคำขอจดทะเบียนผ่านระบบe-Filing ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องมีหนังสือให้ความยินยอม (ต้นฉบับ) ประกอบคำขอจดทะเบียนด้วย หากไม่มีหนังสือให้ความยินยอม ให้นายทะเบียนมีคำสั่งตามมาตรา 12 ตค. 5 ข้อ 7 โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะ ดังนี้ :

“ให้ส่งหนังสือชี้แจงว่าลายมือชื่อในเครื่องหมายคือผู้ใด และมีเจตนาที่จะใช้ลายมือชื่อนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าพร้อมส่งหลักฐานการอนุญาตให้ใช้ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้า (กรณีเป็นลายมือชื่อของบุคคลอื่น)”

ตัวอย่าง ลายมือชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (6) ลายมือชื่อที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

มาตรา 7 วรรคสอง (7) : ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้ว โดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น

1) ภาพถ่ายหรือภาพวาดของผู้ขอจดทะเบียน ให้ทำหนังสือยืนยันว่าเป็นภาพของตน
2) ภาพถ่ายหรือภาพวาดของบุคคลอื่นต้องมีหนังสืออนุญาตจากเจ้าของให้ใช้ภาพดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าได้
3) ภาพหรือภาพวาดของบุคคลที่ตายแล้ว ต้องมีหนังสืออนุญาตจากบุพการีผู้สืบสันดาน และคู่สมรส (ถ้ามี) ให้ใช้ภาพดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าได้

แนวทางการพิจารณา

กรณีไม่มีหนังสือให้ความยินยอม ให้นายทะเบียนมีคำสั่งตามมาตรา 12 ตค. 5 ข้อ 7 โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะ ดังนี้ :

“ให้ส่งหนังสือชี้แจงว่าภาพหรือภาพวาดในเครื่องหมายคือผู้ใด และมีเจตนาที่จะใช้ภาพหรือภาพวาดนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าพร้อมส่งหลักฐานการอนุญาตให้ใช้ภาพหรือภาพวาดดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้า”

ตัวอย่าง ภาพของบุคคล

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรค (7) ภาพของบุคคล

มาตรา 7 วรรคสอง (8) : ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น

ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น หมายถึง ภาพที่คิด ทำ แต่ง สร้าง หรือจินตนาการขึ้น ภาพที่ไม่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ

แนวทางการพิจารณา

1) ภาพที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง หากมีลักษณะประดิษฐ์ให้แตกต่างจากธรรมชาติ ถือว่าเป็นภาพประดิษฐ์
2) ภาพเงาของสิ่งที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงนั้น ไม่ถือว่าเป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น

ตัวอย่าง ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรคสอง (8) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น

ตัวอย่าง ภาพที่ไม่ประดิษฐ์

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรคสอง (8) ภาพที่ไม่ประดิษฐ์ขึ้น

(เนื่องจากเป็นภาพของวัว ที่ไม่ได้คิด ทำ แต่ง สร้าง หรือจินตนาการขึ้นให้แตกต่างจากภาพวัวที่มีอยู่จริงตามธรรมชาติ)

มาตรา 7 วรรคสอง (9) : ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้น
โดยตรง และไม่เป็นภาพแผนที่ หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

1) ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง

         (1) เล็งถึงลักษณะของสินค้าโดยตรง หมายความว่า เมื่อผู้ใช้สินค้าพบเห็นเครื่องหมายนั้นก็ทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีว่าเป็น สินค้าอะไร ใช้กับอะไร เช่น ภาพบรรจุภัณฑ์สินค้า ภาพกระเป๋าหลังของกางเกง
         (2) เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง หมายความว่า เมื่อผู้ใช้สินค้าพบเห็นเครื่องหมายนั้นก็ทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นมีคุณสมบัติ อรรถประโยชน์ หรือมีสรรพคุณอย่างไร

แนวทางการพิจารณา

1) การพิจารณาว่าภาพเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จะต้องพิจารณาว่าภาพดังกล่าวสามารถสื่อความหมายให้สาธารณชนทราบหรือเข้าใจได้ในทันทีหรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถทราบหรือเข้าใจทันทีว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นเป็นสินค้ามีลักษณะใดหรือมีคุณสมบัติอย่างไร

2) ภาพที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง หากมีลักษณะประดิษฐ์ให้แตกต่างจากลักษณะธรรมชาติ ถือว่าเป็นภาพประดิษฐ์

ตัวอย่าง ภาพที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรคสอง (9) ภาพที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง

น้ำแข็งสำหรับ ยาสระผม ลูกอม หรือสินค้าอื่น ๆ ที่ความเย็นเป็นลักษณะ หรือ คุณสมบัติสำคัญ

บรรจุภัณฑ์สินค้า เช่น รูปขวดน้ำมัน แกลลอนน้ำมัน ชองบุหรี่แกลลอนน้ำมัน ใช้กับสินค้า น้ำมันเครื่องซองบุหรี่ ใช้กับสินค้า บุหรี่

ภาพเกี่ยวกับสินค้า เช่น รูปผลไม้ รูปผลไม้ ใช้กับสินค้า ผลไม้ น้ำผลไม้ ผลไม้แปรรูป รูปผลไม้ ใช้กับสินค้า ปุย เนื่องจากทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสินค้าที่ใช้สำหรับบำรุงต้นชมพู

2) ภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

(1) ภาพแผนที่ ได้แก่
- ภาพแผนที่โลก ภาพแผนที่ทวีป ภาพแผนที่ประเทศ ภาพแผนที่ทางทะเล ภาพแผนที่ ถนนหรือเส้นทางคมนาคมอื่น ๆ
- ภาพแผนที่ของสถานที่ใด ๆ ที่ประชาชนโดยทั่วไปในประเทศไทยรู้จักกันแพร่หลาย เช่น ภาพแผนที่แหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น

ตัวอย่าง ภาพแผนที่ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรคสอง (9) ภาพแผนที่ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

(2) ภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่
- ภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่ประชาชนโดยทั่วไปในประเทศไทยรู้จักกัน
- ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นให้คล้ายกับสถานที่ดังกล่าว เช่น ภาพภูเขา ภาพเกาะ ภาพแหลมภาพอ่าว เป็นต้น

ตัวอย่าง ภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรคสอง (9) ภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง ภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรคสอง (9) ภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

แนวทางการพิจารณา

1) ภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ แม้ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษก็ที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

2) ภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่ประชาชนโดยทั่วไปในประเทศไทยรู้จักกันแพร่หลาย พิจารณาจากความรับรู้ของสาธารณชนชาวไทย เช่น แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เมืองสำคัญ สถานที่สำคัญ เมืองมรดกโลก และอาจต้องห้ามไม่รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (9) ด้วย

3) ภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์บางส่วนหากสามารถรับรู้ได้ว่าเป็นภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ใด ก็ให้ถือเป็นภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ เช่น รูปภูเขาฟูจิครึ่งลูก

4) ภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ หากเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตก็อาจเข้ามาตรา 8 (13) ได้

มาตรา 7 วรรคสอง (10) : รูปร่างหรือรูปทรงอันไม่เป็นลักษณะโดยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง หรือไม่เป็นรูปร่าง หรือ รูปทรงที่จำเป็นต่อการทำงานทางเทคนิคของสินค้านั้น หรือไม่เป็นรูปร่าง หรือ รูปทรงที่ทำให้สินค้านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น

1) พิจารณาประกอบกับระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ

2) ผู้ขอจดทะเบียนต้องบรรยายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุโดยต้องแสดงรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุอันเป็นสาระสำคัญทั้งหมด อาจยื่นเป็นรูปเดียวหรือหลายรูปก็ได้

3) เครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ หมายถึง เครื่องหมายที่มีลักษณะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่แสดงถึงด้านกว้าง ด้านยาว ด้านลึก ซึ่งอาจเป็นตัวสินค้า (Product Design)หรือเป็นบรรจุภัณฑ์สินค้า (Product Packaging) ก็ได้ มีลักษณะดังต่อไปนี้
         (1) รูปร่างหรือรูปทรงอันไม่ป็นลักษณะโตยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง เช่นรูปทรงของผักหรือผลไม้ สำหรับการขายสินค้าผักหรือผลไม้
         (2) ไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่จำเป็นต่อการทำงานทางเทคนิคของสินค้านั้น เช่นรูปทรงโถคอห่าน ใช้กับสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ รูปทรงของเฟืองสำหรับสินค้าเฟือง หรือรูปทรงกลม ใช้กับสินค้าลูกบอลอื่น ๆ ที่ต้องมีการเคลื่อนไหวในลักษณะกลิ้งไป หรือรูปทรงของอะไหล่ที่จำเป็นต้องมีรูปทรงอย่างนั้นเพื่อให้อะไหล่นั้นสามารถทำงานได้ เป็นต้น
         (3) ไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่ทำให้สินค้านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น การนำทองหรือเพชรมาประดับบนภาชนะรูปทรงธรรมดาทั่วไป หรือ รูปทรงที่อาศัยการออกแบบในการสร้างความสวยงามหรือสร้างมูลค่าแก่สินค้านั้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น เครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ เช่น โซฟา โคมไฟ โต๊ะ เก้าอี้
เครื่องแต่งกาย เป็นต้น

แนวทางการพิจารณา

1) ผู้ขอระบุในคำขอจดทะเบียนแบบ ก.01 ว่าประสงค์จะขอรับความคุ้มครองในลักษณะที่เป็นเครื่องหมายมีลักษณะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ แต่ผู้ขอไม่ได้แสดงให้เห็นถึงด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึกลำดับแรกพิจารณาก่อนว่ามีลักษณะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุหรือไม่
      (1) กรณีไม่มีลักษณะเป็นรูปร่งหรือรูปทรงของวัตถุแต่มีลักษณะเป็นเครื่องหมายในลักษณะอื่นเช่น เป็นรูปประดิษฐ์ เป็นต้น (ผู้ขอระบุผิด) ให้นายทะเบียนมีคำสั่ง ตค. 9 ข้อ 10โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะ ดังนี้ :

“ตามที่ท่านได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายรายนี้ โดยระบุในคำขอจด ทะเบียนแบบ ก.01ว่าประสงค์จะขอรับความคุ้มครองในลักษณะที่เป็นเครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุนั้น นายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายของท่นไม่มีคุณสมบัติเป็นเครื่องหมายในลักษณะดังกล่าว นายทะเบียนจะพิจารณา
เครื่องหมายของท่านตามลักษณะที่ยื่นไว้ต่อไป”

      (2) กรณีมีลักษณะเป็นรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ ให้นายทะเบียนมีคำสั่ง ตค. 9 ข้อ 10 โดยอาจใช้ข้อความในลักษณะ ดังนี้ :

“ตามที่ท่านได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายรายนี้ โดยระบุในคำขอจดทะเบียนแบบ ก.01 ว่าประสงค์จะรับความคุ้มครองในลักษณะที่เป็นเครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงวัตถุ แต่รูปเครื่องหมายไม่ได้แสดงให้เห็นถึงด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึก (ภาพ 3 มิติ) ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการขอรับความคุ้มครอง
ดังนั้น หากท่านประสงค์จะขอรับความคุ้มครองเครื่องหมายในลักษณะดังกล่าว ให้ยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมรูปเครื่องหมายใหม่ให้มีลักษณะตามที่กำหนดโดยช้แบบ ก.06 แก้ไข ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้หากพ้นกำหนดระยะเวลาตังกล่าวไม่มีการขอเปลี่ยนแปลงรูปเครื่องหมาย นายทะเบียนจะพิจารณาเครื่องหมายตามรูปที่ยื่นไว้เดิมต่อไป”

2) รูปร่างหรือรูปทรงวัตถุ หากเชื่อมโยงกับชนิดของสินค้าอาจเข้ามาตรา 8 (13) ได้

3) กรณีผู้ขอยื่นคำขอในลักษณะรูปร่างรูปทรงของวัตถุแล้วประสงค์จะแก้ไขรูปเครื่องหมาย เช่น ยื่นรูปเครื่องหมาย 6 รูป โดยขอแก้ไข (ตัด) เหลือเพียง 1 รูป ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่อนุญาต เนื่องจากเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ

4) กรณีเครื่องหมายรูปร่างรูปทรงของวัตถุ มีข้อความหรือถ้อยคำอื่นใดประกอบอยู่ในเครื่องหมายด้วย
      (1) หากรูปร่างรูปทรงของวัตถุไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ให้ถือว่ารูปร่างรูปทรงของวัตถุเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย โดยสั่งมาตรา 7 ไม่นำมาตรา 17 มาใช้
      (2) หากรูปร่งรูปทรงของวัตถุมีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่ภาคส่วนอื่นที่ประกอบอยู่ในเครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
- หากภาคส่วนอื่นไม่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ให้มีคำสั่งมาตรา 17 กับภาคส่วนนั้น
- หากภาคส่วนอื่นเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ให้มีคำสั่งมาตรา 7 กับภาคส่วนนั้น

ตัวอย่าง เครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เครื่องหมายการค้า คือ อะไร ? ข้อมูลทั่วไปเครื่องหมายการค้า

ตัวอย่าง เครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรคสอง (10) เครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

มาตรา 7 วรรคสอง (11) : เสียงอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือเสียงที่ไม่เป็นเสียงโดยธรรมชาติของสินค้านั้น หรือเสียงที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานของสินค้านั้น

1) พิจารณาประกอบกฎกระทรวงข้อ 11 ทวิ

2) เครื่องหมายเสียงอาจเป็นได้ทั้งเสียงของมนุษย์ เสียงสัตว์ เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ เช่น เสียงอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้ เครื่องหมายเสียงที่จดทะเบียนได้ต้องไม่เป็นสิ่งสามัญในการค้าขายตามประกาศนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า เรื่อง การกำหนดสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย

3) ผู้ขอต้องบรรยายเสียงให้ชัดเจนและส่งสิ่งบันทึกเสียงที่ขอจดทะเบียนที่มีความชัดเจน ทั้งนี้ ผู้ขอจะส่งโน้ตดนตรี กราฟเสียง หรือสิ่งอื่นที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของเสียงนั้นด้วยก็ได้

4) การพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะ

        (1) เสียงที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง หมายถึงเสียงที่บรรยายถึงตัวสินค้า หรือ ทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นมีคุณสมบัติอย่างไร เช่น เสียงวัวใช้กับสินค้านมสด เนื้อสัตว์ เสียงทอดปลาใช้กับบริการร้านอาหาร เสียงเคี้ยวอาหารที่แสดงถึงความกรอบใช้กับสินค้าขนมขบเคี้ยว เสียงซ่าใช้กับสินค้าน้ำอัดลม เสียงคลื่นบริเวณชายหาดหรือเสียงน้ำตกใช้กับบริการที่พัก เสียงที่แสดงถึงความเร็วใช้กับสินค้าหรือบริการที่มีความเร็วเป็นคุณสมบัติสำคัญ เช่น รถยนต์ บริการขนส่ง บริการส่งของ เสียงการกัดกร่อนใช้กับสินค้ากรดต่าง ๆ เป็นต้น

        (2) เสียงที่เป็นเสียงโดยธรรมชาติของสินค้านั้น เช่น เสียงไก่หรือเป็ดร้องใช้กับสินค้าไก่หรือเป็ด (ปศุสัตว์) เสียงที่เกิดจากน้ำ เช่น น้ำไหล น้ำหลาก ฝนตก น้ำหยด ใช้กับสินค้าน้ำดื่มหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับน้ำ เป็นต้น

        (3) เสียงที่เกิดจากการทำงานของสินค้านั้น เช่น เสียงเครื่องยนต์โดยทั่วไปใช้กับสินค้ารถมอเตอร์ไซด์ ยานพาหนะ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่มีเครื่องยนเป็นส่วนประกอบ เสียงชักโครกใช้กับสินค้าสุขภัณฑ์ เสียงของแตกหักใช้กับสินค้าที่มีไว้บ หรือทำลาย เช่น ค้อน เครื่องบด เครื่องอัด เสียงเดินของนาฬิกาใช้กับสินค้านาฬิกา เป็นต้น

        (4) เสียงที่เป็นสิ่งสามัญในการค้าขาย เช่น เสียงป้องแป้งใช้กับบริการรับย้อมผ้าเสียงเคาะเกราะไม้ใช้กับบริการขายอาหาร เสียงไขเรนใช้กับบริการรถพยาบาล เป็นต้น

        (5) หากเป็นสียงคนพูดเป็นคำหรือข้อความ ให้พิจารณาว่า คำหรือข้อความนั้นเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือไม่

แนวทางการพิจารณา

1) กรณีไม่ระบุคำบรรยายเสียง ให้มีคำสั่งให้ผู้ขอแก้ไขโดยระบุคำบรรยายเสียง โดยใช้แบบ ก.06 แก้ไข

2) กรณีผู้ขอไม่ส่งสิ่งบันทึกเสียง ให้มีคำสั่งให้ผู้ขอส่งสิ่งบันทึกเสียงโดยใช้แบบ ก.20 เป็นหนังสือนำส่ง

3) กรณีเครื่องหมายเสียงที่เป็นคำอ่านของคำหรือตัวอักษรหรือตัวเลข (เรียงกัน) ให้ถือว่าเครื่องหมายนั้นไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะทั้งเครื่องหมาย

4) กรณีเครื่องหมายเสียง มีข้อความหรือถ้อยคำอื่นใดประกอบอยู่ในเครื่องหมายด้วย
      (1) หากเสียงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ให้ถือว่าเสียงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย โดยสั่งมาตรา 7ไม่นำมาตรา 17 มาใช้
      (2) หากเสียงมีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่ภาคส่วนอื่นที่ประกอบอยู่ในเครื่องหมายไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
                  - หากภาคส่วนอื่นไม่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ให้มีคำสั่งมาตรา 17 กับภาคส่วนนั้น
                  - หากภาคส่วนอื่นเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ให้มีคำสั่งมาตรา 7 กับภาคส่วนนั้น

มาตรา 7 วรรคสาม

1) การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม ให้พิจารณาจากประกาศกระทรวง
พาณิชย์ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนี้

(1) สินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นได้มีการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร จนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าหรือบริการอื่น

“ระยะเวลานานพอสมควร”  ให้พิจารณาว่า ระยะเวลานั้นนานพอที่สาธารณชนจะรับรู้ว่าสิ่งที่ขอจดทะเบียนนั้นเป็นเครื่องหมายการค้าหรือไม่ โดยต้องพิจารณาจากลักษณะการใช้ เช่น หากมีการโฆษณาในสื่อประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น โทรทัศน์ โซเชียลมีเดีย สื่อสิ่งพิมพ์ มีกิจกรรมการตลาดจำนวนมากจนเป็นที่รับรู้ในวงกว้างในระดับประเทศ เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เป็นต้น

“สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จัก” สินค้าบางประเภทใช้ในวงการเฉพาะต้านใช้ความรับรู้ในสาขานั้น ๆ หากคนในสาขานั้นรู้จักกันเป็นอย่างดี ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ตามมาตรา 7 วรรคสาม หากยังไม่รู้จักก็ไม่ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ตามมาตรา 7 วรรคสาม เช่น เครื่องมือช่างเครื่องมือแพทย์

“สาธารณชนในประเทศไทยรู้จัก” สินค้าที่ใช้กันทั่วไป ใช้ความรับรู้ของสาธารณชนทั่วไปในประเทศไทยรู้จัก เช่น สินค้าอาหาร สินค้าเสื้อผ้า กรณีเครื่องหมายที่จตทะเบียนในต่างประเทศมีความแพร่หลายในต่างประทศ แต่สาธารณชนในประเทศไทยยังไม่รู้จักก็ยังไม่ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ตามมาตรา 7 วรรคสาม

(2) การจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาสินค้าหรือบริการใดจนทำให้เครื่องหมายมีความแพร่หลายในประเทศไทย ให้ถือว่าเครื่องหมายมีลักษณะบ่งเฉพาะเพียงที่ใช้กับสินค้าหรือบริการนั้นเท่านั้น “มีความแพร่หลายในประเทศไทย” ไม่รวมถึงต่างประเทศ

(3) เครื่องหมายที่จะพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะ ต้องเป็นเครื่องหมายเดียวกันกับเครื่องหมายที่ยื่นขอจดทะเบียน หากไม่ได้จำกัดสีในเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียน ผู้ขอสามารถนำส่งหลักฐานการใช้เครื่องหมายนั้นได้ทุกสี

(4) หลักฐานเกี่ยวกับการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาซึ่งสินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายที่ประสงค์จะขอจดทะเบียน เช่น

      1. สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าราคาสินค้า

      2. สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าโฆษณาสินค้า

      3. สำเนาใบส่งของ

      4. สำเนาใบสั่งซื้อสินค้า

      5. สำเนาใบอนุญาตจัดตั้งโรงงาน

      6. สำเนาหลักฐานการโฆษณาในสื่อต่าง ๆ

      7. ตัวอย่างสินค้า

      8. หลักฐานอื่น ๆ เช่น หลักฐานการทำกิจกรรมทางการตลาด ตัวอย่างโฆษณา หลักฐานการรับรู้ของสาธารณชน รวมทั้งพยานบุคคล (ถ้ามี) เป็นต้น

(5) การส่งหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ผู้ขอจดทะเบียนส่งหลักฐานพร้อมคำขอจดทะเบียนในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถส่งหลักฐานพร้อมคำขอจดทะเบียนได้หรือประสงค์จะส่งหลักฐานเพิ่มเติม ให้ผู้ขอจดทะเบียนทำหนังสือขอผ่อนผันแบบ ก.19 แนบมาพร้อมกับคำขอจดทะเบียน และจะต้องส่งหลักฐานภายใน 60 วันนับแต่วันยื่นหนังสือขอผ่อนผัน ในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่ได้ส่งหลักฐานภายในกำหนดเวลาหรือมีหนังสือแจ้งว่าไม่ประสงค์จะส่งหลักฐานดังกล่าว ให้นายทะเบียนพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนนั้นต่อไป โดยรับฟังข้อเท็จจริงเฉพาะหลักฐานที่ผู้ขอจดทะเบียนได้ส่งไว้ (ถ้ามี)

เครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (1) - (11) แต่ผู้ขอจดทะเบียนได้นำสืบการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นจนเป็นที่แพร่หลายแล้วตามมาตรา 7 วรรคสาม ถือว่าเครื่องหมายนั้นมีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้แล้ว

2) กรณีผู้ขอยื่นคำขอใหม่และประสงค์จะใช้หลักฐานการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะในคำขออื่นประกอบ

(1) เครื่องหมายนั้นจะต้องเหมือนกัน และใช้กับรายการสินค้าเดียวกัน เช่น ยื่นคำขอใหม่โตยเปลี่ยนสีเครื่องหมาย ป็นต้น จึงจะสามารถใช้หลักฐานการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะในคำขออื่นประกอบได้

(2) กรณีเครื่องหมายมีการเพิ่มเติมภาคส่วนแม้เพียงเล็กน้อย ไม่ถือว่าเป็นเครื่องหมายเดียวกัน ไม่สามารถใช้หลักฐานการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะในคำขออื่นประกอบ หรือ

(3) กรณีรายการสินค้าต่างจากเติม ไม่ถือว่าเป็นเครื่องหมายเดียวกัน ไม่สามารถใช้หลักฐานการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะในคำขออื่นประกอบ

ตัวอย่าง เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้

กรณีคำหรือข้อความ

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรคสาม เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้ กรณีคำหรือข้อความ

กรณีกลุ่มของสี

ตัวอย่าง - มาตรา 7 วรรคสาม กลุ่มของสี

มาตรา 17

               การพิจารณามาตรา 17 กรณีที่นายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่า เครื่องหมายการค้ามีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนด้ตามมาตรา แต่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่ไม่ควรรับจดทะเบียน เช่น เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าที่ขอจดทะบียน หรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ เป็นต้น นายทะเบียนอาจมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในภาคส่วนดังกล่าวได้ตามมาตรา 17 (1) ทางปฏิบัติเรียกว่า “การสละสิทธิ” หรือกรณีนายทะเบียนเห็นว่าจำเป็นต่อการกำหนดสิทธิจากการจดทะเบียนของเจ้าของเครื่องหมายการค้ารายนั้น นายทะเบียนอาจมีคำสั่ง เช่น ให้ผู้ขอรับรองว่าจะไม่ใช้สีแถบให้เหมือนหรือคล้ายสีธงชาติ หรือสีอื่นที่คล้ายคลึงกับสีดังกล่าวให้รับรองว่าจะไม่ใช้รูปกากบาทเป็นสีแตงหรือสีเขียวบนพื้นสีขาวหรือสีเงิน หรือรูปกากบาทสีขาวหรือสีเงินบนพื้นสีแดงตามมาตรา 17 (2) ทางปฏิบัติเรียกว่า “การจำกัดสิทธิ”

               *การแสดงปฏิเสธ (สละสิทธิ) คือ การที่ผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอตามแบบ ก.12 ต่อนายทะเบียนว่าตนจะไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวในภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าโดยภาคส่วนที่มีการสละสิทธิจะยังคงปรากฏอยู่และเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้รับความคุ้มครองในเครื่องหมายตามลักษณะที่จดทะเบียนไว้ โดยไม่สามารถอ้างสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ภาคส่วนที่ตนได้สละสิทธิ ดังนั้น บุคคลอื่นอาจนำคำที่สละสิทธิไปประกอบกับคำหรือภาคส่วนอื่นในเครื่องหมายของตนได้ตราบเท่าที่ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายกรค้าของผู้ขอจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า

               สำหรับการพิจารณาว่าภาคส่วนใดของเครื่องหมายเป็นสาระสำคัญหรือไม่ พิจารณาจากหลักเกณฑ์ ดังนี้

1) พิจารณาจากสีของภาคส่วน การจัดวางภาคส่วน หรือ การวางรูปรอยประดิษฐ์ในเครื่องหมาย ซึ่งสีที่เด่น ลักษณะการจัดวางที่โดดเด่น ถือว่าภาคส่วนนั้นเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย หรือ

2) การเทียบสัดส่วน หากภาคส่วนนั้นมีขนาดใหญ่กว่าจนถึงขนาดเป็นที่สังเกตจดจำของสาธารณชนหรือผู้บริโภค ถือว่าภาคส่วนนั้นเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย

แนวทางการพิจารณา

1) กรณีพบว่า ภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญมีลักษณะบ่งเฉพาะ และมีบางส่วนที่ไม่เป็นสาระสำคัญไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ผู้ขอจะต้องสละสิทธิตามมาตรา 17 โดยยื่นแบบ ก.12

2) กรณีพบว่า ภาคส่วนที่เป็นสระสำคัญไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ หรือ เป็นสิ่งที่ใช้กับสามัญในการค้าขายตามประกาศนายทะเบียน ให้มีคำสั่งมาตรา 7

3) สำหรับกรณี 1 คำขอใช้กับหลายจำพวก เช่น คำว่า The Rabbit Bag ใช้กับสินค้า 2 จำพวก ได้แก่จำพวก 18 กระเป๋าเดินทาง และจำพวก 24 ผ้าเป็นผืน ผู้ขอต้องสละสิทธิคำว่า The Bag กับทุกจำพวกในคำขอจะขอแยกสละสิทธิเฉพาะบางจำพวกไม่ได้

4) กรณีเครื่องหมายกลุ่มของสี ให้พิจารณาตามที่กล่าวไว้ในมาตรา 7 วรรคสอง (5)

5) กรณีเครื่องหมายรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุ ให้พิจารณาตามที่กล่าวไว้ในมาตรา 7 วรรคสอง (10)

6) กรณีเครื่องหมายเสียง ให้พิจารณาตามที่กล่าวไว้ในมาตรา 7 วรรคสอง (11)

การแสดงปฏิเสธ (สละสิทธิ)

กรณีที่เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนมีบางส่วนไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะและไม่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ห้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอแสดงปฏิเสธว่าจะไม่ขอถือสิทธิของตนแต่เพียงผู้เดียวที่จะใช้ภาคส่วนนั้น ทั้งนี้ กรณีคำที่ต้องสละสิทธิ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ขอ นายทะเบียนอาจรับจดทะเบียนโดยไม่ต้องมีคำสั่งให้สละสิทธิก็ได้แยกพิจารณาได้ 3 กรณี ดังนี้

1) กรณีบางส่วนไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคแรก เช่น คำที่ใช้กันทั่วไปข้อความบรรยายทั่วไป คำสามัญทั่วไป
            (1) เครื่องหมายที่ประกอบด้วยคำขยายโดยทั่วไป หรือเป็นคำที่ใช้กันโดยทั่วไปนายทะเบียนไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งให้ผู้ขอสละสิทธิภาคส่วนนั้น เช่น คำว่า BLUE MOUNTAIN ให้รับจดทะเบียนดยไม่ต้องมีคำสั่งให้สละสิทธิ คำว่า BLUE คำว่า TWIN RABBIT ให้รับจดทะเบียนโดยไม่ต้องมีคำสั่งให้สละสิทธิ คำว่า TWIN เป็นต้น
            (2) คำที่ใช้กันโดยทั่วไปหรือคำที่สาธารณชนทั่วไปสามารถใช้ได้ ซึ่งเป็นคำที่ผู้ขอไม่ได้ประสงค์จะขอคุ้มครองในคำดังกล่าว เช่น คำว่า ตรา ยี่ห้อ แบรนด์ อักษรย่อ TM หรือคำนำหน้าคำนาม a an the la de เป็นต้น ทั้งนี้ และรวมถึงคำอื่น ๆ ที่มีความหมายอย่างเดียวกันด้วย ให้นายทะเบียนพิจารณารับจดทะเบียนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งให้ผู้ขอสละสิทธิคำดังกล่าวก็ได้
            (3) สัญลักษณ์ทั่วไป ให้รับจดทะเบียนโดยให้มีคำสั่งให้สละสิทธิสัญลักษณ์ทั่วไปนั้น

2) กรณีบางส่วนไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง
            (1) เครื่องหมายที่ประกอบด้วยคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง ให้มีคำสั่งให้ผู้ขอสละสิทธิที่จะใช้คำนั้น เช่น
                        - คำว่า NIVEA soft ใช้กับสินค้าครีมบำรุงผิว ให้รับจดทะเบียน โดยสละสิทธิคำว่า Soft
                        - คำว่า The Rabbit Bag ใช้กับสินค้า กระเป๋าเดินทาง ให้รับจดทะเบียน โดยสละสิทธิคำว่า The Bag
            (2) เครื่องหมายที่ประกอบด้วยชื่อภูมิศาสตร์ ตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) ให้มีคำสั่งให้ผู้ขอสละสิทธิที่จะใช้ชื่อทางภูมิศาสตร์นั้น เช่น
                        - คำว่า Snow Bangkok ให้รับจดทะเบียน โดยสละสิทธิ คำว่า Bangkok
            (3) เครื่องหมายที่ประกอบด้วยตัวอักษรธรรมดาที่ไม่ได้ประดิษฐ์ และคำที่เขียนติดกันป็นคำเดียวและคำดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้โดยไม่ต้องสั่งให้แสดงปฏิเสธที่จะไม่ใช้ตัวอักษรดังกล่าว แม้ตัวอักษรนั้นจะไม่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะพิเศษก็ตาม เช่น
                        - คำว่า BBIRD BIRD-C ใช้กับสินค้า ปุ้ย นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้โดยไม่ต้องสั่งแสดงปฏิเสธอักษร B หรือ C
                        - คำว่า K-KINE H-KINE ใช้กับสินค้า เสื้อเซิ้ต นายทะเบียนรับจดทะเบียนได้โดยไม่ต้องสั่งแสดงปฏิเสธอักษร K หรือ H
                        - แต่หากเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เช่น คำว่า BWHITE ใช้กับสินค้าครีมบำรุงผิว ไม่ถือว่าเป็นคำประดิษฐ์
            (4) เครื่องหมายที่ประกอบด้วยคำแสดงที่มาของสินค้า เช่น From China , Made in Japan
                        - หากพิจารณาแล้วปรากฏว่าตรงกับถิ่นที่อยู่ของผู้ขอจดทะเบียน ทั้งนี้พิจารณาจากคำขอจดทะเบียนแบบ ก.01 ให้รับจดทะเบียนได้โดยสละสิทธิคำดังกล่าว โดยไม่ถือว่าเป็นเครื่องหมายที่มีหรือประกอบด้วยชื่อของรัฐต่างประเทศตามมาตรา 8 (6)
                        - หากพิจารณาแล้วปรากฏว่าคำแสดงที่มาของสินค้าไม่ตรงกับถิ่นที่อยู่ของผู้ขอเช่น ผู้ขอมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย แต่ใช้คำว่า Made in USA ให้ถือว่าเป็นเครื่องหมายที่มีหรือประกอบด้วยคำบรรยายที่ทำให้สับสนในแหล่งกำเนิดของสินค้าตามมาตรา 8 (13) เว้นแต่ ผู้ขอจะส่งหลักฐานยืนยันแหล่งที่มาของสินค้าที่ปรากฏในเครื่องหมาย จึงสั่งให้สละสิทธิคำดังกล่าวได้
                        - กรณีคำว่า Made in Thailand ให้รับจดทะเบียนได้ โดยสละสิทธิคำดังกล่าว

3) กรณีเป็นสิ่งสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าบางอย่างหรือบางจำพวก
            (1) ให้พิจารณาจากประกาศนายทะเบียน เรื่อง สิ่งสามัญทางการค้าขาย

จำพวก

รายการสินค้า

สิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย

3

สบู่ เครื่องหอม หัวน้ำมันหอม ระเหย เครื่องสำอาง น้ำมันใส่ผม
แชมพูสระผม ยาสีฟัน แป้งหอม

ผู้หญิง เด็ก ดอกไม้ ชื่อดอกไม้ ดาว มงกุฎ

5

ยารักษาโรคมนุษย์

ฤาษี เด็ก นางพยาบาล งู พญานาค หนุมาน
การวางแบบตัวอักษรหรือตัวเลขตัดกันเป็นรูปกากบาท

7

เครื่องจักร เครืองมือกล

เฟือง

24

ผ้าเป็นผืน ผ้าเป็นพับ ผ้าฝ้าย ผ้าแพร ผ้าเทียม

คำว่า Print ให้ถือว่าเป็นผ้าพิมพ์ลาย

29

นม แป้งนม

เด็ก นางพยาบาล วัว

กะปิ

กุ้ง

น้ำปลา

กุ้ง ปลา

33

สุรา

ค่าง

34

ยาสูบ 

ไก่ สัตว์คู่เกาะโล่ สัตว์คู่เกาะโลก

1-45

สินค้าหรือบริการทุกอย่างในแต่ละจำพวก

เสียงที่ใช้กันแล้วทั่วไปโดยสุจริตสำหรับสินค้าการประกอบการค้า หรือการบริการ

            (2) กรณีสิ่งสามัญที่เป็นรูปประดิษฐ์ เช่น รูปดอกอัญชันในลักษณะประดิษฐ์ ไม่ใช่รูปตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ถือว่าไม่ใช่สิ่งสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าสบู่ เครื่องหอม หัวน้ำมันหอมระเหย เครื่องสำอาง น้ำมันใส่ผม

            (3) กรณีรูปและคำสิ่งสามัญมีลักษณะประดิษฐ์ หากภาคส่วนคำไม่เป็นสาระสำคัญให้มีคำสั่งให้สละสิทธิคำดังกล่าวได้

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 17 สละสิทธิ์เครื่องหมายการค้า Rosemary

ใช้กับสินค้าสบู่ ให้มีคำสั่งให้สละสิทธิคำว่า Rosemary เนื่องจากเป็นชื่อของดอกไม้

การจำกัดสิทธิในเครื่องหมาย

กรณีนายทะเบียนเห็นว่าจำเป็นต่อการกำหนดสิทธิจากการจดทะเบียนของเจ้าของเครื่องหมายการค้ารายนั้น นายทะเบียนอาจมีคำสั่ง ดังนี้

1) การรับรองว่จะไม่ใช้แถบให้เหมือนหรือคล้ายสีธงชาติ หรือสีอื่นที่คล้ายคลึงกับสีดังกล่าว

 

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 17 จำกัดสิทธิในเครื่องหมายการค้า ธง

2) การรับรองว่าจะไม่ใช้รูปกากบาทเป็นสีแดงหรือสีเขียวบนพื้นสีขาวหรือสีเงิน หรือ รูปกากบาทสีขาวหรือสีเงินบนพื้นสีแดง

     (1) พิจารณาสีของรูปกากบาทและการจัดวางในเครื่องหมาย เป็นกรณี ๆ ไปว่าแสดงในลักษณะใด เช่น

- สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ + (สัลักษณ์ทั่วไปตามมาตรา 7 วรรคแรก)
- กากบาทสีเชียวบนพื้นขาว หรือสีขาวบนพื้นเขียว (สัญลักษณ์ที่ทุกคนใช้ร่วมกันตามมาตรา 7 วรรคแรก)
- กากบาทสีแดงบนพื้นขาว (เครื่องหมายกาชาด ตามมาตรา 8 (7)
- กากบาทสีขาวบนพื้นแดง (คล้ายกับเครื่องหมายกาชาด มาตรา 8 (7) ประกอบมาตรา 8 (11) และ ธงชาติประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ตามมาตรา 8 (6))

     (2) หากเครื่องหมายเป็นรูป ขาว-ดำ และมีภาคส่วนอื่นที่สามารถจดทะเบียนได้ประกอบอยู่ด้วย ให้มีคำสั่งจำกัดสีรูปกากบาทนั้นได้

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง - มาตรา 17 จำกัดสิทธิในเครื่องหมายการค้า กากบาท

แนวทางการพิจารณา

กรณีเครื่องหมายรูปสี เช่น

ตัวอย่าง - มาตรา 17 จำกัดสิทธิในเครื่องหมาย รูปสี

โดยไม่เป็นเครื่องหมายกลุ่มของสี ให้มีคำสั่งให้ผู้ขอยื่นแบบ ก.12 รับรองว่าจะไม่ใช้สีแถบให้เหมือนหรือคล้ายสีธงชาติ หรือสีอื่นที่คล้ายคลึงกับสีดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้มีข้อความระบุในทะเบียนแบบและเพื่อป้องกันการนำไปใช้เลียนสีของธงชาติ


Tags

รับจดเครื่องหมายการค้า, สัญลักษณ์ ลิขสิทธิ์, เครื่องหมาย ตราสินค้า, เครื่องหมาย บริการ, เครื่องหมายการค้า, เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์, เครื่องหมายการค้า โลโก้, trademark, เช็คเครื่องหมายการค้า, จดชื่อแบรนด์, จดทะเบียน trademark, จดทะเบียน โลโก้, จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า, จดลิขสิทธิ์ โลโก้, จดเครื่องหมายการค้า, จดแบรนด์สินค้า


ก้าวสำคัญของธุรกิจคุณ ... ให้เราดูแลที่  Thai Tax Law